New Document









เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

ห้องเภสัชกร

เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย weerapong_rx » 18 เม.ย. 2009, 01:24

ผมอยากจะทราบว่าบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรโรงพยาบาลในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลด้านเภสัชบำบัดของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดมีมากน้อยเพียงใดครับ หากเภสัชกรท่านใดที่ทำงานด้านนี้สละเวลามาเล่าประสบการณ์ในการทำงานจักขอบพระคุณอย่างสูงครับ

เภสัชกรท่านอื่นๆ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ ถ้าหากวิชาชีพของเราเข้าไปทำงานตรงจุดนี้ ซึ่งในต่างประเทศได้กำหนดภาระงานคร่าวๆ เช่น
ทำงานกับทีมวิชาชีพและผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยการจัดทำ pharmacotherapeutic goals, แนะนำ regimen, สร้าง monitoring plan เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน, เป็นผู้แนะนำการใช้ยาให้กับผู้ป่วย และให้ความรู้ด้านยาทางชีวภาพ (biopharmaceuticals) แก่สหวิชาชีพ รวมทั้งเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยาและปฏิกิริยาของยากับเซลล์ต้นกำเนิด เป็นต้น

และถ้าหากในอนาคตเภสัชกรเป็นผู้เตรียมผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิด (สมมติว่าเป็น autologous stem cell transplant) จัดเก็บผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดที่มีขายตามท้องตลาดเหมือนกับยาทั่วๆ ไป (มีข้อกำหนดสภาวะทางเคมีและกายภาพ) ควบคุม ตรวจสอบ และแจกจ่ายให้กับแพทย์ คิดว่าเภสัชกรอยากจะเปิดบทบาทส่วนนี้ไหมครับ

อาจจะเขียนยาวไปนะครับ แต่ผมอยากทราบจริงๆ เพื่อการพัฒนาหลักสูตรทางวิชาชีพต่อไปครับ ขอบพระคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
weerapong_rx
 
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2006, 17:04
ที่อยู่: London, UK







Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย nhum_nop » 18 เม.ย. 2009, 07:35

อย เมืองไทยเข้ามาจับงานด้านนี้แล้วครับ ผลิตภัณฑ์ stem cells ได้รับการตีความเป็นยา ตาม พรบ ยา แล้ว ดังนั้นจึงเข้าตามเกณฑ์ของชีววัตถุ (biological pharm products) ซึ่งจะมีข้อกฎหมายกำหนดที่ตามมา เช่น เรื่อง GMP, Quality, Safety, Batch control เป็นต้น

ในส่วนของ รพ เภสัชกรน่าจะต้องเข้ามาดูแลมากขึ้นครับ เช่น

1. ตามกฎหมายแล้ว การเตรียม stem cells ในโรงพยาบาลก็จะถือเป็นการผลิตยาครับ อย่างน้อยก็ต้องมีเภสัชกรผู้ปฎิบัติการ ต้องมีระบบ GMP แต่ทั้งนี้อาจมีข้อยกเว้นกฎหมายที่จะตีความว่า
- การเตรียม stem cells นี้เป็นของคนไข้เฉพาะราย (การเตรียมยาเฉพาะผู้ป่วยรายบุคคล) ไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายยา นั้นก็อาจเป็นไปได้
- ในประกาศสำนักงาน อย ยังได้ยกเว้นกรณีที่การผลิต stem cell ในไทยนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์การรักษาของแพทย์ตามระเบียบแพทยสภา (ซึ่งจะเป็นข้ออ้างได้ว่าการผลิต stem cells ในโรงพยาบาลนั้นไม่ต้องมีกฎหมายยาเข้ามาเกี่ยวข้อง)

แต่ผมมองว่าเภสัชกรน่าจะมีบทบาทได้นะครับ คล้ายๆ กับยาเคมีบำบัด แม้ว่ากฎหมายจะเปิดช่องว่าการเตรียมยาเฉพาะราย ไม่เป็นการผลิตยา แต่เภสัชกรก็เข้ามาจับงานตรงนี้ในโรงพยาบาล ถ้าเราเปิดตัววิชาชีพว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ, ชีววัตถุ เป็นต้น คิดว่าเราน่าจะทำตรงนี้ได้ แต่ก็อย่าลืมว่ามีหน่วยงานเทคนิคการแพทย์ที่เขาจับงานด้านโลหิตวิทยาหรือธนาคารเลือดอยู่แล้วในโรงพยาบาล ต้องคิดว่าเราจะเป็น value-added ให้กับหน่วยงานเดิมได้อย่างไร

2. การทำ clinical trial ของ stem cells ในโรงพยาบาลจะถือว่าเป็นการวิจัยยา ซึ่งเภสัชกร รพ ต้องเข้าไปดูในส่วนการควบคุมคุณภาพ stem cells รวมท้งการผลิต stem cells เพื่อเป็น clinical samples ด้วย และอาจมีส่วนใน clinical research procedure ด้วย

เป็นต้น
แนบไฟล์
TFDA_Notification_StemCell.pdf
(82.94 KiB) ดาวน์โหลด 562 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
nhum_nop
Global Moderator
 
โพสต์: 26
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2004, 21:30
ที่อยู่: Bangkok, Thailand

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย weerapong_rx » 18 เม.ย. 2009, 18:47

ขอบคุณพี่มากครับ (ตั้งแต่สองปีที่แล้วที่ผมถามเรื่องอิมพีเรียลก็ยังไม่ลืมพระคุณนะครับพี่)
ผมพยายามหาข้อมูลเอกสารเหล่านี้ตามเว็บไซต์ อย. สภาเภสัชกรรม แพทยสภา และสภาอื่นๆ แต่หาข้อมูลไม่ค่อยได้เลยครับ
หรือว่าผมหาไม่เจอเอง ถ้าหากพี่พอจะกรุณาบอกลิงค์หรือให้ผมอีเมล์ไปคุยด้วย พอจะได้ไหมครับ
ผมศึกษากรณีของยุโรปกับสหราชอาณาจักรซึ่งกฏหมายและระเบียบต่างๆ ค่อนข้างเป็นระบบและเข้าถึงง่าย ที่พี่บอกว่า "การเตรียม stem cells นี้เป็นของคนไข้เฉพาะราย (การเตรียมยาเฉพาะผู้ป่วยรายบุคคล) ไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายยา" นั้น ค่อนข้างคล้ายกันครับ แต่ในรายละเอียดนั้นก็ได้ระบุถึงการที่ต้องควบคุมทั้งคุณภาพและปริมาณเฉกเช่นเดียวกับยา
ยาในที่นี้ตามกฏหมายของยุโรปเขาเรียกว่า Advanced Therapy Medicinal Products (ATMPs) ซึ่งหมายถึง การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิด, การบำบัดด้วยยีน และวิศวกรรมเนื้อเยื่อที่ใช้เป็นยา ซึ่งผมเองก็ยังไม่ทราบว่า อย. ของบ้านเราแยกแบบนี้ไหมครับ

ผมเห็นด้วยกับสิ่งที่พี่พูดมาครับทั้งในเรื่องบทบาทใน รพ. และการวิจัยทางคลินิกซึ่งจำเป็นต้องมีเภสัชกร แต่ทั้งนี้คงต้องมีการเรียนการสอนที่เป็นกิจลักษณะ เพราะเท่าที่ผมลองถามกับเภสัชกรบางท่าน ท่านคิดว่าเซลล์ต้นกำเนิดมันไกลตัวเภสัชกรพอสมควร ซึ่งจริงๆ แล้วผมอยากเรียนว่าเภสัชกรทำอะไรได้มากที่เดียวครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
weerapong_rx
 
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2006, 17:04
ที่อยู่: London, UK

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย zartingtong » 18 เม.ย. 2009, 21:27

พูดก็พูดนะ พวกนี้ใช้ความรู้มากพอๆกับทำเด็กหลอดแก้ว
เภสัชถ้ามีงานอื่นอยู่แล้ว แต่ให้ไปทำงานนี้ถ้าไม่ใช่เต็มที่เต็มตัวก็คงไม่ใช่เรื่องหรอกครับ
เพราะทำไปก็คงจะไม่ดีเท่ากับคนที่ train มาด้านนี้โดยเฉพาะ แล้วผลสุดท้ายก็โดนด่าเอง
ยกเว้นจะไปทำเต็มตัวเป็นเรื่องเป็นราวเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆของด้านนี้
:mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย weerapong_rx » 18 เม.ย. 2009, 21:44

1
แก้ไขล่าสุดโดย weerapong_rx เมื่อ 18 เม.ย. 2009, 23:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
weerapong_rx
 
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2006, 17:04
ที่อยู่: London, UK

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย weerapong_rx » 18 เม.ย. 2009, 23:04

weerapong_rx เขียน:
zartingtong เขียน:พูดก็พูดนะ พวกนี้ใช้ความรู้มากพอๆกับทำเด็กหลอดแก้ว
เภสัชถ้ามีงานอื่นอยู่แล้ว แต่ให้ไปทำงานนี้ถ้าไม่ใช่เต็มที่เต็มตัวก็คงไม่ใช่เรื่องหรอกครับ
เพราะทำไปก็คงจะไม่ดีเท่ากับคนที่ train มาด้านนี้โดยเฉพาะ แล้วผลสุดท้ายก็โดนด่าเอง
ยกเว้นจะไปทำเต็มตัวเป็นเรื่องเป็นราวเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆของด้านนี้
:mrgreen:

ผมเห็นด้วยครับ ถ้าทำไม่ดีต้องโดนตำหนิ ดังนั้นจึงต้องมีการเรียนการสอนเป็นกิจลักษณะ
เหมืองดังที่วิทยาลัยเภสัชบำบัดได้ทำในบางสาขาอยู่ในขณะนี้
แต่ขอแย้งว่าการศึกษาเซลล์ต้นกำเนิดไม่ได้ยากครับ เภสัชกรทำได้ ขึ้นกับว่าชอบหรือไม่
ถ้าหลักสูตร ป.ตรี มีเนื้อหาสักเสี้ยวหนึ่งจะดีไหมครับ ปรับที่ไม่จำเป็นออก เพิ่มสิ่งที่จำเป็นสำหรับอนาคตเข้าไปบ้าง
เพราะผมมีคำถามในใจว่า เรื่องยาเป็นเรื่องของเภสัชจริงหรือเปล่า ถ้าคำตอบคือจริง มันก็จำเป็นต้องรู้ ต้องทำ เพราะเซลล์ต้นกำเนิดคือยาประเภทหนึ่ง เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือยาใหม่ๆ มีเป้าหมายการออกฤทธิ์ที่เซลล์ต้นกำเนิด คือต้องการระดมพลเซลล์ต้นกำเนิดให้มันเดินทางไปตำแหน่งที่เราต้องการและทำตามที่เราสั่งการ
ถ้าคิดว่าหลักสูตรปัจจุบันนี้ก็เรียนเยอะมากพอแล้ว เอาไปไว้สอนแบบหลักสูตรเภสัชศาสตร์เฉพาะทางแบบที่ ตปท. เขาทำกัน พอจะเป็นไปได้ไหมครับ
ผมคิดว่าการเพิ่มมูลค่าให้กับวิชาชีพและพัฒนาตัวเองไปในตัว โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโรงเรียนผลิตเภสัชกรอยู่ทั่วประเทศ :razz:
ภาพประจำตัวสมาชิก
weerapong_rx
 
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2006, 17:04
ที่อยู่: London, UK

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย rinko » 19 เม.ย. 2009, 07:14

จุดไฟอยากเรียนต่อขึ้นมาทันที แต่แต่ ไม่ทันแล้ว คงต้องขายร้านยาทิ้ง ถึงจะไปเรียนได้ :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
rinko
 
โพสต์: 662
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 มี.ค. 2008, 14:53

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย nhum_nop » 20 เม.ย. 2009, 03:05

ผมคิดว่าของงาน stem cell หรือ gene therapy กับงานเภสัชเนี่ยต้องลงไปคุยกับเภสัชในโรงพยาบาลที่มีการรักษา stem cell ผมแนะนำให้ติดต่อสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลเพื่อทำ focus group คุยกับเภสัชที่อยู่ในโรงพยาบาลนั้นๆ เลือกมาสัก 3-4 แห่ง เพื่อจะได้รู้ว่าความต้องการของเภสัชเหล่านั้นคืออะไร แล้วเราจะมาเตรียมตัวในด้านของมหาวิทยาลัยอย่างไร เช่น พอคุยแล้ว อาจจะสรุปว่าทำเป็นหลักสูตรศึกษาต่อเนื่องอาจดีกว่าใส่ในหลักสูตรปริญญาตรี เป็นต้น แต่ผมเห็นด้วยว่าในหลักสูตรปริญญาตรีควรจะมีพื้นฐานเรื่อง stem cell กับ gene therapy ด้วย โดยอาจจะอยู่ในวิชา Phar biotech หรือจะแทรกในวิชาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องไปเลย เช่น stem cell ก็แทรกในวิชา physio ในส่วนของระบบเลือดหรือการใช้ stem cell treatment ก็แทรกในวิชา patho ในส่วนโรคกรรมพันธุ์หรือโรคเรื้อรัง เป็นต้น หรือไม่งั้นก็ขอคุยกับบริษัททีทำด้าน stem cell ในไทยที่ผมเคยได้ยินชื่อก็คือ thera vitae เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับอิสราเอล โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาเป็นศูนย์รักษา

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะต้องสอนคือเรื่อง ยา new generics ของ biologics เช่น peptide drug เพราะตอนนี้เริ่มเข้ามาเมืองไทย และกำลังจะมีกฎหมายควบคุมคุณภาพมากขึ้น เช่น biosimilar ผมว่าเภสัชเมืองไทยยังไม่ค่อยรู้เรื่องนี้ ทั้งๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น เภสัชที่ อย, เภสัชที่บริษัทยา หรือเภสัช รพ ที่ต้องสั่งซื้อยา เป็นต้น แล้วก็อีกเรื่องที่ทำกันเงียบๆ ไม่มีคนรู้เท่าไรก็คือ p'cognenetics ตอนนี้การทำ clin trial เกือบทุกกรณีมักจะมีการสั่งทำ p'cogenetic study ด้วยโดยบริษัทยา โดยเฉพาะ chronic disease เภสัชในส่วนของ CRA ต้องการความรู้ด้านนี้ เช่นเดียวกับเภสัชกรที่ศูนย์ศึกษาและที่ อย เอง น่ากลัวในเรื่องกฎหมายว่าเราคุ้มครองข้อมูลพันธุกรรมของคนไข้ไทยมากน้อยเพียงไร ข้อมูลพวกนี้มันจะกลับมาเป็น Intellectual property ที่ประเทศไทยต้องซื้อมาใช้ประโยชน์ในอนาคตเองในทางใดทางหนึ่ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
nhum_nop
Global Moderator
 
โพสต์: 26
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2004, 21:30
ที่อยู่: Bangkok, Thailand

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย weerapong_rx » 20 เม.ย. 2009, 21:48

ขอบคุณมากครับพี่ ผมเห็นด้วยกับแนวคิดพี่ครับ โดยเฉพาะเรื่องทางกฏหมายและการมีส่วนร่วมของสาธารณะชนต่อการแพทย์แนวใหม่ คงต้องไปหาช่องทางปรับการเรียนการสอนในภายหลังครับ ตอนแรกผมก็เน้นแต่งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น
-เภสัชอุตสาหกรรมและเภสัชกรรม ก็เกี่ยวข้องกับการผลิตและระบบนำส่งเซลล์ต้นกำเนิดและยีน รวมทั้งสารพวกที่เราเคยตำเคยบดในโกร่ง ในวิชา Phar'ceutics พวกนักวิทย์ฯ เขาก็เอามาขึ้นโครงเป็น cell scafffolding, cell encapsulation & biomaterials เราใช้มานานมากในเชิง conventional drug formulation แต่ต่อไปผมอยากจะให้ลองทำเพื่อแนวทางของ regenerative medicine
-เภสัชวินิจฉัย ก็เกี่ยวข้องกับการค้นหายาใหม่จากแหล่งธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ปรับเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิด ทั้งเพื่อเพิ่มชนิดเซลล์ที่ต้องการ (เช่น เปลี่ยนเซลล์ต้นกำเนิดให้เป็นเซลล์ประสาท) ในระดับหลอดทดลองและเพื่อให้ออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดที่มีอยู่แล้วในสัตว์ทดลอง บ้านเรามีสมุนไพรหลากหลาย ท่านที่จับงานด้านสมุนไพรอยู่แล้วลองหันมามองเซลล์ต้นกำเนิดดูนะครับ
-งานดูแลควบคุมยา อันนี้สำคัญมากครับ กฏหมายก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยาใหม่ก็ซับซ้อนขึ้น จาก active ingradient เป็นสารเคมี ต่อไปก็จะเป็นยีน โปรตีน หรือเซลล์ที่มีชีวิต แล้วเภสัชวิทยาแบบเก่า ADME ที่เราใช้กับยาปัจจุบันมันอาจใช้อธิบายไม่ได้ เพราะเซลล์มันอาจเดินทางไปไหนก็ได้ ไม่ได้ถูกขับออกแบบปกติทางตับทางไต ไม่ได้อยู่ในร่างกายแค่วันหรือเดือน แต่อาจอยู่ในร่างกายผู้ป่วยไปจนตลอดชีวิต regenerative pharmacology อันนี้จึงน่าสนใจอยู่ไม่น้อยครับ

เนื่องจากสภาเภสัชกรรม ท่านได้ให้ความสำคัญกับหลักสูตร PharmD ผมก็เลยพยายามปรับตัวเองให้มองการใช้ประโยชน์สำหรับผู้ป่วย ซึ่งเภสัชกรโรงพยาบาลอาจจะได้มีส่วนบุกเบิกงานด้านนี้ในอนาคตครับ ผมตั้งกระทู้นี้ก็หวังเพียงแต่จะให้ท่านที่แวะมาอ่านได้ลองฉุกคิดดูถึง emerging medical technologies ที่ไม่ช้าก็เร็วมันต้องเกิดขึ้น

แต่ทว่ายังไม่มีเภสัชกรที่ทำงานด้านนี้มาตอบกระทู้เลยครับ อาจเพราะบ้านเรายังไม่ได้เริ่ม หรือคนที่ทำงานด้านนี้ท่านไม่ได้ใช้บริการเว็บไซต์แห่งนี้ก็อาจเป็นไปได้

ขอบคุณมากครับที่สละเวลามาให้ความเห็น
ภาพประจำตัวสมาชิก
weerapong_rx
 
โพสต์: 57
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2006, 17:04
ที่อยู่: London, UK

Re: เภสัชกรโรงพยาบาลกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

โพสต์โดย zartingtong » 20 เม.ย. 2009, 22:42

เอาเป็นว่าลอง search ด้วย key words

pharmacist "stem cell"

มีอะไรน่าสนใจให้อ่านเยอะเหมือนกัน

:lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14


ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document