ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา http://www.cueid.org เล่าถึงคนไข้ประจำที่ชื่อว่าฝน อายุ 65 ปี รูปร่าง เธออ้วนจนแทบจะมองปลายเท้าไม่เห็น มาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว
" วันที่เข้ารับการรักษา...คุณฝนเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งก็ได้รับการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ และในระยะต่อมาทั้งๆที่ยังอยู่ที่โรงพยาบาล เกิดมีอัมพฤกษ์แขน-ขาซีกซ้ายอ่อนแรง...มีปากเบี้ยวนิดหน่อย เลยได้รับการรักษา ทั้งหัวใจ...หัวสมอง"
ธีระวัฒน์
คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า หลังจากเริ่มเดินได้...อาการสงบไม่ลุกลาม ก็ได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน โดยต้องทานยาคุมความดันไม่ให้สูงจากเดิม 160/110...ให้อยู่ในระดับ 130/80 คุมไขมันให้อยู่ในเกณฑ์...ไขมันเสีย (LDL) น้อยกว่า 70
รวมทั้งต้องลดน้ำหนักเป็นการด่วน พร้อมกับต้องทานแอสไพรินสม่ำเสมอ เพื่อกันเส้นเลือดตีบ
ด้วย ความที่คุณฝนเพลิดเพลินระหว่างเดินทางกลับบ้าน มักจะแวะซื้อขาหมู ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นประจำ...จนร่างกายเกินสมบูรณ์ หมอได้กำชับอย่างเด็ดขาด ให้เปลี่ยนพฤติกรรมมาทานผัก...ผลไม้ วันละ 3 มื้อขึ้นไป
ซึ่งมีโอกาสลดความเสี่ยงการเกิดอัมพฤกษ์ซ้ำได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์
คุณ ฝนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่ได้ผลช้าและน้อยมาก จนหมอต้องสัมภาษณ์ละเอียดอีกครั้ง พบว่าผลไม้ที่ทาน...มักเป็นทุเรียน มะม่วงข้าวเหนียว ลำไย ขนุน
ไม่น่าแปลกใจ แม้ว่าจะลดขาหมู...แต่น้ำหนักก็หาได้ลดตามลงไม่
โชคยังดีที่คุณฝนประคองตัวมาได้ตลอดรอดฝั่ง...กระทั่งเดือนที่แล้ว คุณฝนถูกหามมายังห้องฉุกเฉินด้วยอาการอ่อนแรงซีกซ้ายตามเดิม
สอบถาม ได้ความว่า...การมาโรงพยาบาลแต่ละครั้งมีความลำบากยากเข็ญ ต้องตื่นแต่เช้า เพราะกรุงเทพฯรถติดมหาศาล แม้โรงพยาบาลจะมีการนัดเวลาให้สะดวกแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องมาพบแพทย์ทางหัวใจครั้งหนึ่ง...และอีก 2-3 วันต่อมา ต้องมาพบหมออีกครั้ง
เนื่องจากตรวจคนละชั้น...คนละวัน
"คุณฝน ต้องฝ่าฟันอุปสรรคนี้ทุกๆสองถึงสามเดือน คนที่จะพามาหรือมาเป็นเพื่อนก็หายาก หนำซ้ำโรงพยาบาลคนยังแน่นเหมือนตลาดนัด เลยตัดสินใจซื้อยาทานเองมาได้ 8 เดือน พร้อมกับให้เพื่อนๆข้างบ้านช่วยกันวัดความดัน"
ซื้อยาจาก ร้านขายยาละแวกบ้าน เดินไม่ถึง 5 นาที แถมยาที่หาซื้อได้ก็มีครบทุกอย่าง ทั้งยาความดัน...ยาไขมัน แต่ที่ร้านขายยาไม่มี เพราะ อย. หรือสำนักกรรมการอาหารและยา ห้ามไม่ให้ขายก็คือ...ยาแอสไพริน
คุณฝนไม่ได้ทานยาแอสไพรินมา 8 เดือน....?
คุณ หมอธีระวัฒน์ บอกว่า เหตุผลที่ อย.ประเทศไทยห้ามไม่ให้ร้านขายยาขายยาแอสไพริน ไม่ทราบแน่ชัด ทั้งๆที่แอสไพรินเป็นยาสำคัญในการกันเส้นเลือดตีบ และผู้ป่วยที่ต้องทานยานี้ในประเทศไทยน่าจะมีเป็นล้านราย
"สอบถามผู้ใหญ่ กล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า...ไม่รู้เหรอคุณ แอสไพรินก่อให้เกิดปัญหาสารพัด ทำให้เกิดโรค...ราย (Reye's syndrome)...
ในเด็กที่มีไข้จากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือเป็นอีสุกอีใส ถ้าทานแอสไพรินร่วมจะเกิดอาการสมองบวม โคม่า ตับวาย"
หมอเลยตอบ "ขอรับ...กระผม ทราบแล้วครับ" ในใจพลิกตำราในสมองยังไม่ทันจะชี้แจงให้ท่านผู้ใหญ่ทราบก็เดินไปซะเสียก่อน
" ท่านคงไม่ทราบ...คนไข้แต่ละคนกว่าจะมาหาหมอได้แต่ละครั้งลำบากยากเข็ญขนาด ไหน ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ที่จะได้ไม่ต้องไปต่อคิวตั้งแต่ตีห้า หรือได้ไปที่สบายๆหรูๆมีบันไดเลื่อน พนักงานยกมือไหว้เป็นดอกเห็ดตามโรงพยาบาลเอกชน...ที่ต้องเสียเงินทีละเป็น หมื่น"
คุณฝนมีสภาพร่างกายไม่พร้อม ถึงจะพอมีเงินค่าเดินทาง แต่การที่ต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาลเป็นครึ่งวัน เพื่อซื้อยาแอสไพรินราคา 100 เม็ด 20 บาท...เธอจึงเลือกซื้อยากินเอง มีร้านขายยาเป็นที่พึ่ง
การ ห้ามขายแอสไพรินในร้านยา ก่อให้เกิดความเดือดร้อนสำหรับคนที่มีโรคเส้นเลือดตีบ และต้องการยา ถ้าเทียบกับไวอากร้าแล้ว ไม่รู้ว่าร้านยาคุณภาพทั้งหลายจะมีใครเขียนใบสั่งให้มาซื้อ
แต่...ยาไวอากร้า กลับได้รับอนุญาตให้ขายในร้านยาได้
"[size=200]การแก้ปัญหาระดับนโยบายแบบนี้ ไม่ต้องพูดกันถึงการใช้สมองซีกซ้าย ซีกขวานะครับ[/size]" คุณหมอธีระวัฒน์ ว่า
" หากจะตั้งหวังให้ประเทศไทยเข้มแข็ง ท่านผู้ใหญ่จะต้องมีการนำหลักฐานหลากหลายมุมมาสังเคราะห์ ให้มีคำตอบสำหรับโจทย์ของประเทศ ที่สำคัญ...ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องลดมุมผลประโยชน์การค้าที่แฝงมาในการ ตัดสินใจ"
พาดพิงถึงร้านยา วันนี้เป็นธุรกิจหนึ่งที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ในมุมผู้ซื้อยา...ใช้ยาจะมั่นใจได้มากน้อยแค่ไหนว่าจะได้รับคำแนะนำที่ถูก ต้อง?
เภสัชกร ธีระ
เภสัชกรธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่า ถ้ามีเภสัชอยู่ร้านก็ไม่ต้องกังวล เพราะทุกคนเรียนมา...มีความรู้ มีการศึกษาต่อเนื่อง ปัจจุบันถ้านับเฉพาะร้านยาคุณภาพ ก็มีกว่า 300 ร้าน
จุด สังเกตข้อแรก...ต้องมีเภสัชประจำร้าน ข้อต่อมา...ต้องติดแอร์ ควบคุมอุณหภูมิ ยาส่วนใหญ่จะต้องอยู่ในอุณหภูมิแนะนำที่ 25 องศาเซลเซียส
ภายใน ร้านยาคุณภาพจะจัดเป็นสัดส่วน ยาภายนอก ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ อาจมีโต๊ะแยกเอาไว้รับคำปรึกษา...เก็บประวัติผู้ป่วยที่เข้ามารับคำปรึกษา เป็นประจำ
อีกแง่มุมหนึ่งที่ต้องรู้...ทุกวันนี้คนเข้าโรงพยาบาล คลินิกไปตรวจรักษา คนไข้บางคนอาจจะไม่ต้องใช้ยาก็หายป่วยได้
แต่ ปัญหามีว่า...ระบบการรักษาในบ้านเรา ค่าตรวจกับค่ายาเหมือนไม่ได้แยกกัน ถ้าจะคิดแต่ค่าตรวจ คนไข้ก็อาจจะงง ไม่ให้ยาแล้วหมอจะมาคิดค่ารักษาได้อย่างไร
นี่คือปัญหาของระบบ ไม่ใช่ความผิดหรือความถูก แต่ส่งผลให้เกิดการใช้ยาค่อนข้างเยอะ เกินความจำเป็น
ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าระบบบริการสุขภาพเริ่มจาก 30 บาทรักษาทุกโรค หรือวันนี้กลายเป็นรักษาฟรีไปแล้ว เอื้อให้คนไข้ไม่น้อยที่คิดว่าเอะอะอะไรก็จะเข้าโรงพยาบาล...เอายามากิน เอามาแล้วก็กินไม่หมด หรือไม่ได้กิน ทิ้งไว้ ที่บ้าน ส่งผลให้มีการจ่ายยามากขึ้น
"ทั้งที่อาจแค่ปวดหัว...ตัวร้อน ถ้าไปคุยปรึกษาเภสัช บางอาการเพียงได้รับคำแนะนำ ก็อาจไม่ต้องกินยา"
ความ สิ้นเปลืองของยาในส่วนนี้ไม่มีการสำรวจเป็นทางการ แต่เคยมีกิจกรรมในสัปดาห์เภสัชปี 2551 ระบุว่า ถ้าใครมียาขยะอยู่ที่บ้านให้ส่งมาที่สมาคมฯ
ผลปรากฏว่าได้ยามาเยอะทีเดียว เป็นยาทั่วๆไป แก้ปวดเมื่อย แก้หวัด แก้เจ็บคอ
ปัจจุบัน วิชาชีพเภสัชศาสตร์มีหลากหลายบทบาท ที่เห็นชัด คือ เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชนในร้านยา ส่วนงานเบื้องหลัง นักเภสัชศาสตร์ ยังมีส่วนสำคัญในการวิจัยค้นคว้า ผลิตยาใหม่ๆ รวมไปถึงงานควบคุม วิเคราะห์ยาให้ได้มาตรฐาน
เภสัชกรไทยในอนาคตจะต้องเพิ่มพูนด้านการวิจัย เพราะค่อนข้างจะวิจัยน้อย โดยเฉพาะการค้นพบยาใหม่ๆ อาจเรียกว่า...ล้าหลังก็ว่าได้
ก่อน จบการสนทนาเภสัชกรธีระ ฝากประชาสัมพันธ์ไปถึงเภสัชกรทั่วประเทศว่า ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะมี การประชุมเภสัช-กรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ไฮไลต์ที่สำคัญ อาทิ ชีววัตถุและทิศทางการวิจัยและการพัฒนาในประเทศไทย, ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการนำส่งวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย, ทิศทางอุตสาหกรรมยาไทยในทศวรรษหน้า...รวมไปถึงประเด็นใกล้ตัว อนาคตร้านยาเภสัชชุมชนจะเหมือนโชห่วยจริงหรือ
ที่พลาดไม่ได้...งาน นี้ได้รับเกียรติจากโปรเฟสเซอร์ Kamal K. Midha ประธานสมาพันธ์เภสัชกรรมนานาชาติ ที่จะมาพูดถึงวิสัยทัศน์เภสัชกรรมในทศวรรษหน้า ในด้านปฏิบัติการเภสัชกรรมและด้านเภสัชศาสตร์
"สิ่งสำคัญที่อยากให้ เภสัชกรไทยมาร่วมประชุมกันมากๆ บอกตรงๆว่า เรามีวาระซ่อนเร้น ต้องการให้สมาพันธ์ฯเห็นศักยภาพความเป็นปึกแผ่นของเภสัชกรไทย ปูทางเพื่อประเทศไทยจะได้สิทธิเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาพันธ์ เภสัชกรรมนานาชาติในปี 2556..."
ปี 2556 เป็นปีที่วิชาการศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ครบ 100 ปี
เภสัชกรเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญสำหรับระบบสุขภาพประเทศไทยในอนาคต...คลิกดูความเคลื่อนไหววงการเภสัชกรรมไทยเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaipharma.net.