New Document









จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

ห้องเภสัชกร

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย zartingtong » 24 พ.ค. 2009, 17:23

แค่เอาจดหมายยืนยันจากคณบดีไป

เค้ายังไม่เพิ่มเงินเดือนให้เล้ย

ไม่รู้ว่าใครหลอกใคร ใครโดนหลอก

:mrgreen: :lol: :mrgreen: :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14







Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย wannee » 24 พ.ค. 2009, 19:51

กลับมาต่ออีกสักหน่อยนะคะ

อาจจะเป็นเรื่องเดิมๆ แต่สำหรับผู้ที่อาจจะเพิ่งเข้ามาอ่าน จะได้เข้าใจสถานการณ์มากขึ้นค่ะ

ที่แสดงความเห็นมานี้ ไม่ได้ค้านบริบาลเภสัชกรรม แต่ค้านการละเลยงานอื่นๆที่เภสัชกรในประเทศไทยเราทำอยู่ บางคนอาจบอกว่าเป็นจุดอ่อนของวิชาชีพที่มีหลากหลายสาขา แต่ตัวเองมองว่าเป็นจุดแข็งของประเทศไทยที่มีเภสัชกรทำงานในหลากหลายสาขา จริงอยู่ในอดีตการกระจายกันแบบนี้ทำให้อัตราการเติบโตมันช้า แต่มันผ่านช่วงนั้นไปแล้วค่ะ ตอนนี้ในแต่ละสายงาน เรามีเภสัชกรเข้าไปทำงานมากพอที่จะสร้างความเข้มแข็งในแต่ละสายงานได้แล้ว อย่าเอาความคิดแบบเอกชนที่เป็นองค์กรหวังกำไรที่ว่าตรงไหนอ่อน ตรงไหนไม่ชำนาญให้ตัดออก ให้มุ่งเน้นไปที่เรื่องสำคัญและเป็นไปได้เท่านั้น อย่าคิดแบบนั้น เพราะเราคือวิชาชีพ ที่ต้องคิดถึงสิ่งที่สังคมจะได้ ไม่ใช่คิดถึงสิ่งที่วิชาชีพเราจะได้ (ถ้าเขียนแบบนี้แล้ว กระทบความรู้สึกของผู้ที่ดิฉันเคารพ ต้องขอโทษด้วยนะคะ แต่นี่คือ สิ่งที่คิดและเชื่อค่ะ)

อย่าลืมว่าประเทศที่เค้าเน้นไปทางบริบาลนั้น เค้าพัฒนาผ่านขั้นของการผลิตมาแล้ว เค้าผ่านการเเป็นสังคมการผลิตเข้าสู่สังคมบริโภคได้แล้ว เพราะการผลิตเค้าเข้มแข็งแล้ว แต่ประเทศไทยเราล่ะ เป็นอย่างไร

สำหรับเรื่อง 6 ปี ได้เสนอความเห็นว่า ความรู้มีเพิ่มขึ้นมากมายตลอดเวลา เรียนอย่างไรก้ไม่หมด ดังนั้น การศึกษาต่อเนื่องซึ่งสามารถจัดได้อย่างหลากหลายนั้น จะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้คือ พัฒนาการของความรู้ที่เภสัชกรที่มีเพิ่มขึ้น เมื่อไปทำงานเชิงลึกในแต่ละสายงาน ถ้าเรายังมองว่ามีทักษะและความรู้พื้นฐานก้อนนึงที่เภสัชกรทุกคนต้องมี แต่เมื่อลึกๆมากขึ้น เจาะจงมากขึ้น ความรู้และทักษะที่ต้องการก็จะต่างกัน จึงเสนอว่า ควรจัดให้เป็นการศึกษาต่อเนื่อง เช่น เมื่อแบบเดิมเรียน 5 ปีแล้วได้ เภสัชศาสตรบัณฑิต ทำไมไม่ทำการศึกษาต่อเนื่องอีก 1 ปี ได้ประกาศนียบัตร หรือ อีก 2 ปีได้ ปริญญาโท หรือ จะทำต่อเป็นวุฒิบัตรก็ยังได้ เวลาที่ต้องใช้ในการเรียนเพิ่มขึ้นตรงนี้ก็จะตรงกับความต้องการของคนเรียนมากขึ้น เพราะเค้าจะมีทางเลือกว่าจะเริยนเพิ่มในด้านใด ไม่ใช่ไปบังคับเค้าตั้งแต่ตอนต้น คนที่มีลูกเรียนมหาวิทยาลัย พอจะเข้ามาบอกได้ไหมคะ ว่าค่าใช้จ่ายนะมั่นเท่าไร กว่าจะสอบติดก็หนักหนาสาหัสแล้ว ยังต้องมาเจอระบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยเป็นใหญ่ เธอต้องเรียนตามที่ชั้นกำหนดอีก เฮ้อ......

มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องบังคับให้เป็น 6 ปีทั้งหมด เมื่อไม่สามารถแสดงเหตุผลที่เหมาะสมได้ ก็ได้แต่แสดงเหตุผลข้างๆคูๆ เช่น หน่วยกิต 5 ปีเยอะไป ต้องทำเป็น 6 ปี แล้วเป็นอย่างไร เมื่อทำหลักสูตร 6 ปีออกมา หน่วยกิตก็เพิ่มเข้าไปอีก เพราะเจ้าตัวหน่วยกิตรวมน่ะ มันถูกบังคับมาจากประกาศสภาฯ

ความเห็นที่เสนอมานี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเห็นด้วยนะคะ สิ่งที่เรียกร้องคือ ขอให้มีเวทีรวบรวมความคิดเห็นจากส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง เพื่อหาคำตอบที่น่าจะเหมาะสมที่สุด ดังจะเห็นได้จากช่วงต้นๆเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ ก็มีคนออกมาความคิดเห็นกันหลากหลาย เป็นจังหวะดีที่น่าเสียดายที่สภาเภสัชกรรมปล่อยให้มันผ่านไป

สภาเภสัชกรรมทำอย่างไร เมื่อมีคนร่วมกันเข้าชื่อเสนอเรื่องนี้ต่อสภา สภาพิจารณาว่าไม่ทำอะไรโดยไม่มีการให้เหตุผล

สภาทำอะไรเมื่อคณะวิชาต่างๆทำหนังสือทักท้วงไป สภาอ้าง ศศภท.(ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นที่ประชุมรวมของคณบดีคณะเภสัชศาสตร์) สภาอ้างว่า ศศภท.เห็นด้วย เออนะ แล้วหนังสือจากคณะมันออกมาได้ยังไง ถ้าคณบดีไม่เซ็นออกมา

ขอโทษด้วยนะคะ ที่การแสดงความเห็นครั้งนี้ ไปแตะหลายๆคน แต่ถ้ามัวแต่อมพะนำ(ภาษาโบราณนะคะ ไม่ใช่คำหยาบ) ไม่พูดออกมา มันก็ไม่รู้เรื่องกันสักที

ขอบคุณมากค่ะที่อ่านมาจนถึงตรงนี้
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย teerawudh » 24 พ.ค. 2009, 22:32

เอกสารประชาสัมพันธ์และรายละเอียดโครงการการจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม
ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ.2552
? สุขภาพคนไทยกับการใช้ยาปฏิชีวนะ ?

สัปดาห์เภสัชกรรมเป็นกิจกรรมที่ทางสภาเภสัชกรรมและองค์กรวิชาชีพร่วมกันจัดขึ้นทุกปีเพื่อให้ เภสัชกรทุกคนได้มีส่วนในการแสดงบทบาททางวิชาชีพสู่สังคมและส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยมีความรู้และใช้ยาได้ถูกต้อง ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สำหรับปีนี้กำหนดระยะเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม 2552 โดยมอบหมายให้สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) เป็นผู้ประสานหลักจัดงาน ในนามเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม ภายใต้ชื่องานว่า

? สุขภาพคนไทย กับ การใช้ยาปฏิชีวนะ?

1. ความสำคัญและประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

จากการสำรวจโดยองค์การอนามัยโลกพบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยาเป็นไปอย่างสูญเปล่า ไม่สมเหตุสมผล ส่งผลต่อผู้ป่วยทั้งในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษา รวมทั้งต้องเสีย ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยไม่จำเป็น ยิ่งไปกว่านั้นการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลทำให้เกิดเชื้อดื้อยาแพร่ กระจายเป็นผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตและสูญเสียคุณภาพชีวิตของผู้ที่ต้องแบกรับภาระในการดูแลรักษา อย่างหนัก และจากการสำรวจสภาพปัญหาการใช้ยามากเกินความจำเป็นของประเทศไทยในปี 2549 พบว่า กลุ่มยาฆ่าเชื้อมีมูลค่าการผลิตและนำเข้าสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศอย่างต่อเนื่องซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท หรือ เกือบ 1ใน 4 ของมูลค่ายาทั้งหมด สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทาง เดิน หายใจส่วนบน พบว่า ร้อยละ 40-60 และร้อยละ 70-80 ในต่างจังหวัดและกรุงเทพ มีการใช้อย่างไม่จำเป็น การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อไม่สมเหตุสมผลกำลังก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาขั้นรุนแรงในประเทศไทย ปัจจุบันอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาเกิดสูงมากถึงร้อยละ 25-50 ซึ่งผลที่ตามมาคือ ค่าใช้จ่ายของแต่ละครัวเรือน และของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นจากการต้องสั่งซื้อยาชนิดใหม่ตลอดเวลา การรักษาที่จะต้องพึ่งพิงการซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากขึ้น อาการของโรครุนแรงขึ้น เป็นต้น
วิชาชีพเภสัชกรรม เป็นวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อปัญหาเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะที่กำลัง ดำเนินมาถึงขั้นวิกฤตนี้ ในงานสัปดาห์เภสัชกรรม ปี 2552 นี้ เป็นโอกาสดีที่สุดโอกาสหนึ่งที่จะ รวมพลังเภสัชกรที่กระจายอยู่หลากหลายสายงาน ซึ่งมีสมาชิกรวมกว่าสองหมื่นคนทุกสาขางาน ที่จะรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ให้เหมาะสม ปลอดภัย และพอเพียง ให้กับทั้งทีมงาน ด้านสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปให้มีความกระจ่างในการใช้ยา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ประเทศของเรา ด้านเศรษฐกิจ สุขภาพอนามัยที่ดี และยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชน

2. ความคิดริเริ่ม

ด้วยพลังของเภสัชกรกว่า 20,000 คนที่กระจายอยู่ในองค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งในส่วนที่ให้ บริการประชาชนโดยตรงและส่วนที่อยู่เบื้องหลัง สามารถที่จะเป็นหน่วยหลักในการดูแลสุขภาพของประชาชน และให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องยาอย่างถูกต้องสำหรับบุคลากรทางการแพทย์อย่างแข็งแรง ผ่านช่องทางการให้ข้อมูลด้านยาแก่สาธารณะ รณรงค์การใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสม สร้างวัฒนธรรม เพื่อการพึ่งพาตนเอง เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนายา-สมุนไพร และมีกิจกรรมทางการตลาด สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์สังคม เป็นต้น โดยในงานสัปดาห์เภสัชกรรม 2552 นี้ ทีมงานได้มุ่งเน้นเรื่องการมี ส่วนร่วมในการนำทรัพยากรต่าง ๆ ของแต่ละองค์กรต่างในแต่ละสาขางานมาใช้ร่วมกัน ทั้งทรัพยากรบุคคล ผลิตภัณฑ์และงบประมาณ โดยเราได้มีการจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรมกระจาย ทั่วประเทศ อย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดผลแห่งการแสดงพลังทางวิชาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งประโยชน์สูงสุด จะกลับคืนสูประเทศชาติและประชาชน

? สุขภาพคนไทย กับ การใช้ยาปฏิชีวนะ ?

วัตถุประสงค์

1) เพื่อแสดงพลังสร้าง ขยาย กลุ่ม เครือข่ายเภสัชกรที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ
2) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน เข้าถึง เข้าใจการใช้ยา โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล
3) เพื่อพัฒนาบทบาทและแนวคิดของเภสัชกรในร้านยาคุณภาพ และหน่วยงานอื่นๆในการเสริม สร้างสุขภาพของประชาชน

3. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงาน

เภสัชกรทุกสายงาน ทั้งเภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชน (ร้านยา) เภสัชกรทางด้านวิชาการและการผลิต รวมทั้งเภสัชกรที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมในกิจกรรมสุขภาพที่เครือข่ายผู้ดำเนินโครงการวางแผนไว้ลงสู่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบพร้อมกันทั่วประเทศในช่วง?สัปดาห์เภสัชกรรม? (ปี 2552 ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม )
ประชาชน ซึ่งหมายถึงผู้บริโภค ผู้รับบริการ ในการใช้ยา (และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ) เข้าร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์เภสัชกรรม ได้มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญ เกิดการสร้างวัฒนธรรมเพื่อการ พึ่งพาตนเอง เน้นเสริมสร้างสุขภาพ การดูแลสุขภาพมิให้เจ็บป่วย และถ้ามีการใช้ยา สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และได้อย่างมีคุณภาพและเหมาะสม

4. กลวิธีและกิจกรรม

1) จัดหาแนวร่วมในการจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม 2552 โดยเภสัชกรอาจจะตอบรับการจัดงาน ในนามองค์กรหรือ ลงชื่อเภสัชกรเพื่ออาสาเข้าร่วมกิจกรรมในส่วนงานต่าง ๆ
2) จัดประชุมเครือข่ายเภสัชกร ทั้งในรูปของการประชุมวิชาการ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในคณะเภสัชศาสตร์ เช่น เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น และสงขลา โดยใช้หัวข้อการประชุมเกี่ยวกับเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล ในโรคที่พบบ่อย
3) การจัดทำสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เภสัชกร ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ สื่อสำหรับการจัดนิทรรศการ ซีดี สปอตโฆษณา และสติ๊กเกอร์ เป็นต้น
4) จัดทำนิทรรศการให้ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้บริโภคที่จะเข้ามาร่วมในกิจกรรมตามสถานที่ต่างๆ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ร้านยาคุณภาพ หรือร้านยาที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม
5) จัดทำกิจกรรมการจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรมในส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการของแต่ละพื้นที่
6) ทำ ?จดหมายข่าว? ภายในเครือข่ายเพื่อให้เกิดการรับรู้และแลกเปลี่ยนกิจกรรมดีๆในการส่งเสริมให้ผู้มารับบริการมีการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
7) ดำเนินการประเมินผลการจัดงาน

โดยกำหนดการเบื้องต้นในการจัดงานแถลงข่าวจะเป็นภายในเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นจะมีการร่วม กันจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรมพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน ? 2 กรกฏาคม 2552
teerawudh
 
โพสต์: 70
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:34

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย teerawudh » 24 พ.ค. 2009, 22:34

ตัวอย่าง: โครงการสัปดาห์เภสัชกรรมปี 2552 จังหวัดขอนแก่น

หลักการและเหตุผล

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เภสัชกรในทุกภาคส่วนของจังหวัดขอนแก่นร่วมรณรงค์จัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม 2552 โดยมีวัคถุประสงค์จำเพาะคือ
1. จัดนิทรรศการ และกิจกรรมภายใต้หัวข้อ สุขภาพคนไทยกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
2. รณรงค์ให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการใช้ยาปฏิชีวนะ
3. จัดประชุมวิชาการสนับสนุนให้ เภสัชกรในหน่วยบริการได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ antibiotic smart use

การดำเนินงานโครงการ
1. คั้งคณะกรรมการดำเนินงานสัปดาห์เภสัชกรรม ประจำปี 2552 จังหวัดขอนแก่นประกอบด้วยตัวแทนจาก เภสัชกรสสจ.ขอนแก่น เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชน เภสัชกรในคณะเภสัชศาสตร์ และนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. ประชุมกำหนดกิจกรรมในการรณรงค์ และการจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม 2552
3. จัดทำ และรวบรวมสื่อต่างๆที่จะใช้ในการจัดนิทรรศการ และใช้ในกิจกรรมรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม
4. ประชุมเภสัชกรโรงพยาบาล ในที่ประชุม พบส.จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ความรู้เรื่อง antibiotic smart use และเพื่อมอบสื่อในการจัดนิทรรศการและกิจกรรม
5. เภสัชกรในหน่วยบริการ และนักศึกษาดำเนินการจัดนิทรรศการ และกิจกรรมรณรงค์
6. สรุป ประเมินผล

กิจกรรมโครงการ กิจกรรมที่จะดำเนินการในปี 2552 ของจังหวัดขอนแก่นคือ
1. การประกวด mind map โดย อย.น้อย จังหวัดขอนแก่น เรื่อง สุขภาพคนไทยกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
2. นิทรรศการ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม ในโรงพยาบาลต่างๆในจังหวัด 20 แห่ง โรงอาหารกลางมหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. จัดทำสื่อ แผ่นปลิวรณรงค์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมเพื่อมอบแก่ ร้านยาเภสัชกร และโรงพยาบาลในจังหวัดขอนแก่น
4. สปอร์ตประชาสัมพันธ์ และสปอร์ตประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อออกรายการวิทยุต่างๆ
5. รายการโทรทัศน์ KKU Chanel ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ?สัปดาห์เภสัชกรรม ครั้งที่ 10?

ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการดำเนินงานสัปดาห์เภสัชกรรม ประจำปี 2552 จังหวัดขอนแก่น โดยมี ภก.วิวรรธน์ อัครวิเชียร เป็นประธานคณะกรรมการ
teerawudh
 
โพสต์: 70
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:34

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย coolturtle » 26 พ.ค. 2009, 08:44

ไม่ได้เข้ามานานแล้ว test!
coolturtle
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 16:44

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย coolturtle » 26 พ.ค. 2009, 09:13

คุณธีรวุฒิลงทุนเขียนยาว 2 ล็อก (ดิฉันไม่ใช่คนอินเทรน คงใช้ภาษาไม่ตรงกับชาวเนตใช้กัน)
สำหรับดิฉันซึ่งพิมพ์(โดยเฉพาะภาษาไทย)ไม่เก่งจะต้องใช้ความพยายามและความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง
เลยเดาเอาว่า คุณธีรวุฒิคงตั้งใจเบี่ยงเบนประเด็นนะคะ เพราะหัวข้อประเด็นออกเห็นชัดตัวโต แต่คุณธีรวุฒิกลับมาพูดเรื่องสัปดาห์เภสัช หรืออะไรไป
กิจกรรมดีๆของเภสัช ทำไปก็ดีแล้วค่ะ แต่ปัญหาในวิชาชีพที่ค้างคากันอยู่ ก็ไม่ควรกลบเกลื่อน ขยะน่ะซุกไว้ใต้พรมได้ไม่นานหรอก จะก่อปัญหาใหญ่ขึ้นสักวัน ทำไมไม่ช่วยกันเก็บกวาดเสียล่ะคะ
ยอมรับความจริงเถิด หันหน้าเข้าพูดคุย ดูซิว่าเหตุผลใครดีกว่า
คนพูดไม่เก่ง ก็ไม่ใช่ไม่มีสมอง คนไม่ได้พูดก็ไม่ใช่ไม่มีความคิด
ถ้าเชื่ออย่างจริงใจว่า วิชาชีพนี้ไม่ใช่สมบัติของเราผู้เดียว
จะต้องรับฟังและให้โอกาสผู้อื่นแสดงความเห็นด้วย
และการตัดสินใจ จะต้องเกิดขึ้น หลังจากฟังครบหมดแล้ว
ความหวังดีของเราก็เป็นสิ่งดี แต่หากเขาไม่ต้องการ ก็บังคับให้เขารับไม่ได้
ถ้าวิชาชีพเป็นสมบัติส่วนรวม ก็ต้องทำโดยมติส่วนรวม
การอ้างว่าได้รับเลือกตั้งมา จึงได้เอกสิทธิ์นั้น น่าจะเข้าใจผิดพลาด
การปฏิเสธการเมืองภาคประชาชน ทำให้เกิดปัญหาในทุกที่
ไม่นับประเด็นที่กรรมการชุดนี้ ได้หาเสียงไว้หรือว่าจะมาบังคับเปลี่ยนหลักสูตรเป็น 6 ปี(ดิฉันไม่เห็นนะ)
หากหาเสียงเอาไว้ แล้วได้รับเลือก ดิฉันจึงจะถือว่าชอบธรรม
นอกจากนั้น ดิฉันว่าคงจะดีไม่น้อยหากกรรมการชุดนี้จะถ่อมตัวว่าได้รับเลือกตั้งมาเพียงคะแนนน้อยนิด แม้นายก-คนที่ได้คะแนนมากสุด ก็ยังได้เพียงพันกว่าคะแนน ไม่ถึง10%ของรายชื่อสมาชิก ยิ่งสมควรรับฟังเสียงสมาชิกให้มากๆขึ้น
เสียงเพียงพันกว่าคะแนน (คนสุดท้ายได้ไม่กี่ร้อย) ไม่น่าทำให้หึกเหิมขนาดเชื่อว่าจะตัดสินใจอย่างไรก็จะไม่มีคนค้านเลยนะคะ
coolturtle
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 16:44

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย teerawudh » 26 พ.ค. 2009, 17:39

ที่เขียนนี่เพื่อประชาสัมพันธ์ครับ

เนื่องจากใกล้วันงานจึงขอเรียนแจ้งชาวเว็บแถวนี้ครับ

ไม่ได้คิดกลบเกลื่อนอำพลางใดๆครับ พี่น้อง

"เกียรติและนามเรานี้เทอดทูล เพื่อเพิ่มพูนสุขแล้วแคล้วภัย

รักชื่อนั้นแม้จนชีพวาย สูญดวงใจเราไม่ยอมสูญชื่อ"
teerawudh
 
โพสต์: 70
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:34

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย coolturtle » 10 มิ.ย. 2009, 13:47

ท่านคิดอย่างไรหาก?กรรมการสภาเภสัชกรรมชุดใหม่จะมีนโยบายจัดการให้มีการลงประชามติสมาชิกสภาเภสัชกรรมทั่วประเทศว่าประสงค์ให้กรรมการสภาฯพิจารณาทบทวนระบบการจัดการหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิตใหม่หรือไม่?

ทั้งนี้สืบเนื่องจากความเห็นขัดแย้งเรื่องการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมฯ พ.ศ.2551 ที่บังคับให้หลักสูตรเภสัชศาสตร์ต้องเรียน 6 ปีทั้งหมด โดยไม่ผ่านการทำประชาพิจารณ์ ไม่เปิดรับฟังความคิดเห็นฯ และเมื่อมีการส่งเรื่องฟ้องศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ว่า ?....เมื่อข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับกับสถาบันการศึกษาที่ขอรับรองและผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นไปโดยไม่ใช้บังคับกับผู้สำเร็จการศึกษาก่อนปีการศึกษา พ.ศ.2557 แต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งสำเร็จการศึกษาและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่ก่อนแล้วตามกฎหมาย โดยยังคงเป็นสมาชิกของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่เช่นเดิมแม้จะมีการใช้ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวก็ตาม ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามในการออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมดังกล่าวจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบจึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามต่อศาลได้ตามมาตร 42 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง....?ด้วยเหตุนี้ ปัญหาการออกข้อบังคับสภาฯ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวของผู้ฟ้องคดีจึงยังหาทางออกไม่ได้ เพราะโอกาสที่จะให้ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งหมายถึงเด็กที่จะเข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป มาเป็นผู้ฟ้อง เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะโอกาสได้เรียน ได้ใบประกอบวิชาชีพหรือได้งานเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดี จึงไม่มีใครรับประกันได้ว่าสิทธิการฟ้องจะเป็นเรื่องที่แยกพิจารณาได้เด็ดขาดจากสิทธิการได้เรียน ได้ใบประกอบ ได้ทำงานฯ ด้วยเหตุนี้การออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม หรือวิชาชีพใดๆที่ไม่เหมาะสม จึงไม่มีโอกาสมีโจทย์ที่มีสิทธิฟ้องได้เลย

ดังนั้น เพื่อให้ปัญหานี้ไม่ถูกละเลยในระดับชาติ จึงน่าที่จะเสนอให้กรรมการสภาฯชุดใหม่จัดทำประชาพิจารณ์ว่า?สมควรให้กรรมการสภาฯชุดใหม่พิจารณาระบบการจัดการหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิตใหม่หรือไม่?
หรือ ....ท่านคิดเห็นอย่างไร
[/color][/size][/size]
coolturtle
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 16:44

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย eternity » 15 มิ.ย. 2009, 12:14

โดยความคิดส่วนตัวแล้ว ผมมองว่าการออกข้อบังคับที่มีผลกระทบต่อวิชาชีพโดยไม่มีการทำประชาพิจารณ์นั้นเป็นสิ่งไม่เหมาะสม เพราะแนวคิดสำคัญที่ทุกคนอ้างว่าประชาธิปไตยนั้น การกระทำใดๆ จะต้องเป็นไปโดยมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในที่นี้คือ เภสัชกร นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ว่าที่นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ว่าผู้ปกครองของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับผลกระทบหรือเกี่ยวข้องแม้แต่เพียง 0.000000000000001% หรืออาจหมายรวมถึงประชาชนทั่วไป อีกทั้งการที่มีเป้าหมายในปรับให้หลักสูตรเป็น 6 ปีทั้งหมดนั้น มีความไม่ชอบธรรมในลักษณะของความคิด เนื่องจากหากต้องการพัฒนาวิชาชีพจริงต้องไม่มองว่าแผ่นดินนี้เป็นต่าชาติแต่ แผ่นดินนี้คือ "ประเทศไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย" การจะทำอะไรต้องมีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นอยู่ของประเทศไม่ใช่เลียนแบบต่างชาติมาทั้งดุ้น โดยปราศจากการใช้สติ และปัญญา รวมทั้งการรับฟังความคิดอื่นๆ อย่างถี่ถ้วน

โดยสรุปต้องการให้สภาพิจารณาประเด็นดังกล่าวใหม่ ไม่ใช่ไม่ต้องการให้วิชาชีพพัฒนาแต่อยากให้พัฒนาอย่างยั่งยืนและเหมาะสมครับ
eternity
 
โพสต์: 39
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 23:00

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย buntam » 27 ส.ค. 2009, 10:30

สวัสดีครับ
ไม่ว่าหลักสูตรห้าปีหรือหกปีผมเห็นด้วยทั้งนั้นครับ แต่จากประสบการณ์ทั้งการเป็นนักศึกษาและเป็นเภสัชกรทำให้ผมได้ทราบว่า ตอนเรียนนะ หลักสูตรเภสัชเรียนหนักมาก ตอนสอบนักศึกษาแต่ละคนมีลักษณะเหมือนซอมบีเลย แต่พอมาทำงานสิ่งที่เภสัชกรไม่มีคือ ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง ทั้งๆที่ได้เรียนมาเยอะแยะ มากจนบางทีเกินความจำเป็น สิ่งที่ผมเสนอแนะให้ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องช่วยกันคือ
1. ช่วยสร้างความสามัคคีในกลุ่มของเภสัชกร
2. ช่วยกันสร้างเภสัชกรที่เป็นเภสัชกรจริงๆ ไม่ใช่เภสัชกรที่ไม่มีคุณภาพ
3. เภสัชกรที่กล้ายอมรับความคิดเห็นของวิชาชีพอื่นๆด้วย ไม่ใช่มีความคิดอยู่แต่วิชาชีพตัวเองเท่านั้น
4. เภสัชกรที่เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ไม่ใช่เภสัชกรที่มุ่งหาประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น
5. อยากให้ทุกคนช่วยกันคิดว่าเรามาสร้างวิชาชีพเภสัชกรให้เป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของสังคมให้มากกว่าปัจจุบัน
buntam
 
โพสต์: 30
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2004, 18:26
ที่อยู่: จ.กระบี่

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย Mheeflash » 03 ต.ค. 2009, 04:50

zartingtong

เคยไปดูแนวคิดของหลักสูตร 6 ปีหรือเปล่า ไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญอะไรเลย ก็ฝึกงานมากขึ้น ก็อยู่แต่ในสายของclinic ก็อาจเหมาะสมในงานบางด้านเท่านั้น ด้านอื่นก็แค่ soso แล้วจบ 6 ปีนี่นะเรียกเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้วเหรอ? แล้วความคิดก็ยิ่งจะแตกแยกกันมากขึ้นไปอีก จริงๆแล้วพวก 6 ปี หรือ 5 ปีตอนนี้ ก็ได้เปรียบในงานบางด้านไม่ได้มากมายอะไร พอทำงานจริงๆก็ขึ้นอยู่กับบุคคลที่จะพัฒนาตัวเองหรือเปล่า

ขอให้คุณทบทวนคำพูดของคุณให้ดีนะครับ ประโยคนี้มันเหยียดหยามความรู้สึกของคนที่ตั้งใจเรียน Pharm D เพื่อสร้างความรับผิดชอบด้านยาให้กับผู้ป่วยอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นชิ้นเป็นอันก็อย่าเอามาพูดดีกว่าครับ
ผมไม่เถียงที่บอกว่าทำงานจริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับการพัฒนาของตัวบุคคลเอง แต่อย่าลืมว่าคุณก็จบมาเป็นภัชกรด้วยระบบการศึกษานะครับ ถ้าระบบมันจะไม่มีผลเลยคุณก็คงไม่ได้ทำงานในฐานะเภสัชกรหรอกครับ อย่าลืมว่ามี factors อื่นๆ ที่มีผลกับการทำงานนะครับ
Mheeflash
 
โพสต์: 51
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 00:33

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย zartingtong » 03 ต.ค. 2009, 13:03

ผมไม่ได้เหยียดหยาม แต่แค่บอกว่า Pharm D จบมาด้วยระบบที่ลอกการศึกษามาจากฝรั่ง เหมาะสมกับหน้าที่การงานสาย clinic ไม่ได้ถือเป็นผุ้เชี่ยวชาญ แล้วยิ่งถ้าคุณจบไปเค้าไม่ได้ให้คุณทำงานเหมาะสมและไม่ได้มอบหน้าที่ให้คุณเหมือนกับของฝรั่ง นานไปก็เข้าหม้อเพราะไม่ได้ใช้ ถ้าอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญคุณต้องไปต่อวุฒิบัติหรือด้านคลีนิกแล้วอย่าไปเชื่ออะไรๆที่เค้ายัดเยียดให้คุณคิดคุณหวังครับ ด้วยเหตุผลประการเดียวคือ "ที่นี่ประเทศไทย"
Just inconvinient truth
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย Mheeflash » 16 ต.ค. 2009, 01:46

zartingtong เขียน:ผมไม่ได้เหยียดหยาม แต่แค่บอกว่า Pharm D จบมาด้วยระบบที่ลอกการศึกษามาจากฝรั่ง (1) เหมาะสมกับหน้าที่การงานสาย clinic (2) ไม่ได้ถือเป็นผุ้เชี่ยวชาญ แล้วยิ่งถ้าคุณจบไปเค้าไม่ได้ให้คุณทำงานเหมาะสมและไม่ได้มอบหน้าที่ให้คุณเหมือนกับของฝรั่ง นานไปก็เข้าหม้อเพราะไม่ได้ใช้ ถ้าอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญคุณต้องไปต่อวุฒิบัติหรือด้านคลีนิกแล้วอย่าไปเชื่ออะไรๆที่เค้ายัดเยียดให้คุณคิดคุณหวังครับ (3) ด้วยเหตุผลประการเดียวคือ "ที่นี่ประเทศไทย" (4)
Just inconvinient truth


ขออภิปรายเป็นประเด็นๆ ไปครับ
1) ผมไม่มีข้อมูล และยังไม่เคยเห็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาที่มีความสามารถในการสร้างหลักสูตรนี่ กลับสร้างหลักสูตรใหม่โดยการ ลอก จริงหรือ คำนี้มีนัยยะที่เป็นเชิงลบแอบแฝง ผมอยากให้ทุกคนที่มองหลักสูตรได้ศึกษาทำความเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ และเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้นครับ เพราะหลักสูตรต่างๆ ไม่ได้ทำมาเฉพาะกาล แต่ทำมาใช้เป็นเวลาหลายปี และมีผลต่อทิศทางการพัฒนาวิชาชีพอย่างมาก โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่า ผู้ที่มีคุณวุฒิที่สร้างหลักสูตรได้ จะมาทำงานโดยการ ลอก ครับ
2) exercise ของหลักสูตรมีการพัฒนาหลายด้าน ทุกๆ ด้านสนับสนุนสายงานทางคลินิกให้โดดเด่น สำหรับด้านอื่นๆ เช่น Drug Information Service (critical appraisal included), Pharmacovigilance คงเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่พอจะบอกได้ว่า หลักสูตร Pharm.D ไม่ได้จำกัดตีกรอบเฉพาะงานด้านคลินิกเท่านั้น
3) ผมคงต้องสารภาพด้วยความโง่ว่า ผมเองก็ไม่ทราบว่าถูกยัดเยียดอะไรมา ความคิดใดๆ ของคนคนหนึ่ง หรือกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง ย่อมถูกตีความได้ว่าเป็น วิสัยทัศน์ ทัศนคติ ความเชื่อ ความงมงาย ฯลฯ ทั้งนี้มันขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ตีความมีประสบการณ์และวิสัยค่อนในทางใด สิ่งที่ผมประทับใจต่อ หลักสูตรบริบาลทางเภสัชกรรม เพราะคำว่า "การบริบาลทางเภสัชกรรม" คือความรับผิดชอบของเภสัชกรต่อผู้ใช้ยาให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เป็นสิ่งที่อยู่ในความคิดของผมตลอดเวลา ถ้าสิ่งนี้ถูกยัดเยียดเข้ามาก็ขอรับมาด้วยความเต็มใจ ผมมั่นใจว่ามนุษย์มีศักยภาพพอที่จะประเมินแนวคิดมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเภสัชกรที่มีความรับผิดชอบสูงต่อสุขภาวะของประชาชน
สุดท้ายผมอ่านมาทุกกระทู้ที่คุณตอบ มีคำว่า "ถูกยัดเยียด" อยู่หลายแห่ง ผมสงสัยเหลือเกินว่าสิ่งที่คุณคิดว่ายัดเยียดนั้นคืออะไร แล้วสิ่งที่ยัดเยียดนั้นมันเป็นความจริงของคุณ ของใคร หรือของทุกคน ผมเชื่อว่ามีคำตอบที่ชัดเจนมากกว่าการบอกใบ้ให้ตีความ เพราะการตีความนั้นย่อมเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา พิจารณาคดีเดียวกัน ใช้กฎหมายของประเทศไทยเล่มเดียวกัน พ.ศ.เดียวกัน ยังตัดสินแตกต่างอย่างสิ้นเชิงได้ นับประสาอะไรกับบัวที่ยังไม่พ้นน้ำอย่างผมจะเข้าใจอย่างผิดๆ
4) ผมเองก็เกิดในประเทศไทย โตในประเทศไทย เรียน และทำงานในประเทศไทย สิ่งที่ควรสงสัยคือ เราจะตั้งคำถามว่าเรามีศักยภาพพอที่จะช่วยพัฒนาประเทศไทยได้หรือไม่ หรือเราจะตั้งคำถามว่าศักยภาพที่เรามีจะช่วยพัฒนาประเทศไทยได้อย่างไร ทุกวันนี้ที่ผมทำงานอยู่เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนมักมีความรู้สึกเสมอว่า "ระบบยาของประเทศไทย ช่างห่วยแตกสิ้นดี" สิ่งที่ผมมีปฏิกิริยาต่อความรู้สึกนี้คือ "ทำอย่างไรให้ระบบที่ห่วยนี้พัฒนาไปเป็นระบบที่ดี" มากกว่าจะคิดว่า "ปลงเสียเถิด ที่นี่ประเทศไทย"
Mheeflash
 
โพสต์: 51
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 00:33

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย Songklod Suwanich » 19 ต.ค. 2009, 19:51

เห็นด้วยครับ... :ugeek:
Songklod Suwanich
 
โพสต์: 22
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มิ.ย. 2007, 13:52

Re: จดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชน กรณีการยื่นคัดค้านข้อบังคับของสภาฯ

โพสต์โดย eternity » 19 ต.ค. 2009, 21:59

ขอแสดงความเห็นบ้าง นึกว่าเรื่องนี้จะถูกลืมแล้วนะเนี่ย โดยส่วนตัวไม่ต่อต้านประเด็นเรื่อง Pharm. D. เรียน 6 ปีครับ เพราะได้ฝึกปฏิบัติมากขึ้นย่อมดีกว่า แต่ผมมองว่าในสาขาวิชาอื่นนั้นมีความจำเป็นเพียงพอแล้วหรือที่จะต้องเป็น 6 ปี ผมมองว่านี่ต่างหากที่เป็นประเด็นสำคัญ เพราะจากการได้สัมผัสกับเภสัชกรสาขาต่างๆ ก็พอได้ข้อคิดมาหลายสิ่ง เช่น

1. ในสายอุตสาหกรรมบริษัทไม่สามารถรับนักศึกษาฝึกงานได้และในช่วงที่รับมาก็มีงานประจำที่ต้องทำและยังมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความลับของบริษัทอีก ดังนั้นประเด็นเรื่องยืดอายุการฝึกงานออกไปอาจไม่เหมาะสม ซึ่งในข้อนี้ก็ได้รับข้อเสนอแนะมาว่าให้คงหลักสูตร 5 ปีไว้และใช้การศึกษาในระดับปริญญาโททดแทนได้ไหม
2. สายการตลาดและคุ้มครองผู้บริโภค ทางด้านนี้ก็ได้รับทราบมาว่าแหล่งฝึกนั้นมีน้อย สายการตลาดส่วนมากเป็นบริษัทเอกชนเขาต้องการคนมาทำงานให้มากกว่าฝึกงานแล้วครั้นจะให้นักศึกษาไปฝึกงานหาเงินให้บริษัทโดยมิได้รับผลตอบแทนก็ใช่ที่ ต่อมาสายคุ้มครองผู้บริโภคอันนี้มีเวทีให้ฝึกน้อยลงไปอีกและโดยตัวนักศึกษาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตามหฎหมายก็วางตัวลำบาก
3. สายวิจัยและพัฒนา สายนี้สิ่งสำคัญคือการศึกษาในระดับสูงคือปริญญาเอก หรือ Ph. D. ดังนั้นถามว่าสายนี้นั้นคุ้มแล้วหรือที่ต้องเสียเวลา 1 ปีแต่ไม่ได้แม้แต่วุฒิปริญญาโท อีกทั้งระยะเวลา 1 ปีนั้นอาจไม่พอที่จะทำงานวิจัยตีพิมพ์ดีๆ ซึ่งเป็นผลงานของตัวนักศึกษาเองได้

เหล่านี้คือสิ่งที่เราควรจะนำมาพูดกันครับ ไม่ใช่ว่าจะเอา 6 ปี เท่านั้น จะเอา 5 ปีเท่านั้น แต่เราต้องมาคุยกันว่าอะไรที่เหมาะสม อะไรที่ไม่เหมาะสม ทำอย่างไรถึงจะดี ทางเลือกไม่ได้มีแบบเดียว ทุกอย่างต้องให้หน้าเข้าคุยกัน ปรับเข้าหากัน มันถึงจะแก้ปัญหาได้แบบ win win situation คือชนะทุกฝ่ายครับ


ปล. แต่ก็ยังสงสัยอยู่ดีว่าเบื้องบนจะฟังข้างล่างบ้างมั๊ย? :twisted:
ปล.2 ลองไปมองอเมริกานะครับว่าเขาใช้ใครคุมโรงงาน ใช้ใครพัฒนาสูตรตำรับ ใช้ใครเดินยา ใช้ใครคุ้มครองผู้บริโภค แล้วท่านจะเข้าใจว่าทำไมเขาถึงมี Pharm. D. เท่านั้น แต่ที่นี่นั้นไม่ใช่อเมริกาครับ ที่นี่ประเทศไทย ต้องดูบริบท ต้องรับฟัง ไม่ใช่ปิดหู ขอพูดอยู่คนเดียวแบบเบื้องบนน่ะนะ (จะโดนกลั่นแกล้งมั๊ยเนี่ย :surprised: )
eternity
 
โพสต์: 39
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 23:00

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document