New Document









งานวิจัยใช้เครื่องฟอกอากาศ plasmaclusterกับคนไข้โรคภูมิแพ้

ข่าวสารสาธารณสุข

งานวิจัยใช้เครื่องฟอกอากาศ plasmaclusterกับคนไข้โรคภูมิแพ้

โพสต์โดย kiatisak » 25 ก.ค. 2013, 09:47

รายละเอียดของงานวิจัย

หลังจากที่ Von Pirquet ให้คำนิยาม “โรคภูมิแพ้” และ Woff-Eisner ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง โรคหอบหืด กับ การไวต่อปฎิกริยาภูมิแพ้ , ในปี พ.ศ. 2468 Storm Van Leeuwen ได้เสนอให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันสารภูมิแพ้แก่คนไข้หอบหืด หรือ ย้ายคนไข้เหล่านี้ไปยังพื้นที่ที่มีสารภูมิแพ้น้อยลง อีก 8 ปีต่อมา ได้มีการวิจัยพบว่าสารภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่น เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหอบหืด และ โรคจมูกอักเสบ ทำให้มีการคิดค้นอุปกรณ์ป้องกันสารภูมิแพ้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นฟูกหรือหมอน ที่ใช้ผ้าคลุมป้องกันไม่ให้สารภูมิแพ้ลอดผ่านออกมาได้ นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันในทางปฎิบัติมากที่สุดในขณะนี้

อุปกรณ์ต่างๆได้ถูกพัฒนานำมาใช้กับคนไข้โรคภูมิแพ้ ซึ่งดูเหมือนว่า แผ่นกรองอากาศจะมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนตัวไรฝุ่นในห้องนอน ทำให้อาการภูมิแพ้ลดน้อยลงได้ อย่างไรก็ตาม ชาร์ปได้มีการคิดค้นอุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ มีการเพิ่มระบบพลาสม่าคลัสเตอร์เข้ามาใช้ นอกเหนือจากการใช้แผ่นกรองคาร์บอนและแผ่นกรอง HEPA (สำหรับอุปกรณ์ในรูปแบบเครื่องฟอกอากาศ)

ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ได้ถูกศึกษาในสถาบันวิจัยหลายแห่งแล้วว่าสามารถฆ่าทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และแปรสภาพสารภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่น ในการศึกษานี้จึงต้องการทดสอบว่าการนำระบบพลาสม่าคลัสเตอร์มาใช้งาน จะช่วยลดอาการโรคภูมิแพ้ต่างๆให้แก่คนไข้ได้จริงหรือไม่

คนไข้และวิธีการ

ศูนย์การวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยเกี่ยวข้องรวม 11 แห่ง คนไข้ที่ถูกคัดเลือก ต้องรับการรักษามาอย่างน้อย 1 ปี , ไม่มีคนไข้รายใดที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการ Immunotherapy , ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยาที่ได้รับ ตลอดช่วงที่ทำการวิจัย , คนไข้หอบหืดทั้งหมดจะถูกแบ่งอาการรุนแรงตามมาตรฐาน GINA และไม่มีคนไข้รายใดที่ทานยาสเตียรอยด์

การวิจัยได้รับการยินยอมจากคณะกรรมการจริยธรรมของแต่ละศูนย์ๆจะทำการคัดเลือกคนไข้โรคจมูกอักเสบ 4 ราย และ คนไข้โรคหอบหืด 1-4 ราย คนไข้บางรายอาจเป็นทั้งโรคจมูกอักเสบและโรคหอบหืด ศูนย์ต่างๆจะเป็นตัวแทนของแต่ละภาคในประเทศ
กลุ่มที่ 1 คนไข้โรคจมูกอักเสบ ประกอบด้วย เพศชาย 19 คน เพศหญิง 14 คน อายุระหว่าง 22-63 ปี
กลุ่มที่ 2 คนไข้โรคหอบหืด ประกอบด้วย เพศชาย 5 คน และ เพศหญิง 7 คน อายุระหว่าง 22-45 ปี
มีคนไข้จำนวน 6 คนที่เป็นทั้ง 2 โรค , ไม่มีคนไข้รายใดที่มีประวัติเจ็บป่วยเรื้อรังอื่นๆ , คนไข้ถูกทดสอบสารภูมิแพ้ด้วยวิธี skin test , คนไข้ทุกคนตรวจพบความไวต่อตัวไรฝุ่น อย่างน้อย one positive prick-skin



เครื่องกำเนิดอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์จะทำให้ไอน้ำในอากาศ แตกตัวด้วยกระแสไฟฟ้าแรงสูง ทำให้เกิดอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ + และ - อนุภาคเหล่านี้ถูกพ่นออกมาในรูปแบบที่มีโมเลกุลน้ำล้อมรอบ ปริมาณความเข้มข้นอนุภาคอยู่ที่ 10,000 ไอออนต่อซีซี อนุภาคเหล่านี้จะไปทำลายเชื้อโรคต่างๆ สลายกลิ่น และแปรสภาพสารภูมิแพ้ ปริมาณของโอโซนซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ มีไม่เกิน 0.01 ppm อันน้อยกว่ามาตรฐานสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน ที่ถูกกำหนดไว้ที่ 0.05 ppm

รูปแบบการศึกษา

คนไข้ต้องมาพบแพทย์อย่างน้อย 4 ครั้งในช่วงการศึกษาวิจัย 8 อาทิตย์ ในการพบครั้งแรกจะถูกสัมภาษณ์เรื่องต่างๆ ตรวจสุขภาพ รวมถึงสมรรถภาพปอด (กรณีโรคหอบหืด) และตรวจวัดอัตราการหายใจ (ตรวจซ้ำ 3 ครั้ง เอาค่าสูงสุดเป็นเกณฑ์) คนไข้จะตอบแบบสอบถามถึงอาการต่างๆที่มีกว่า 30 อาการ (ตามคำจำกัดความของ Juniper and Guyatt) นอกจากนี้ คนไข้โรคหอบหืดจะต้องบันทึกอาการด้วยตนเอง วันละ 2 ครั้ง , บันทึก PEFR (Peak Expiratory Flow Rate) วันละ 2 ครั้งตลอดการวิจัย ช่วง 2 อาทิตย์แรก run-in period จะไม่มีการใช้ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ , 4 อาทิตย์ต่อมา จะมีการวางอุปกรณ์ไว้ชิดเตียงในส่วนของห้องนอน , 2 อาทิตย์สุดท้าย จะไม่มีการใช้อุปกรณ์

การวิเคราะห์ทางสถิติ

ข้อมูลต่างๆจะถูกนำไปวิเคราะห์เทียบแบบ t-test เปรียบเทียบ 2 ช่วง ค่านัยสำคัญที่ใช้ทางสถิติคือ p<0.05

ผลทดสอบ

ข้อมูลคนไข้โรคจมูกอักเสบ ผ่านขั้นตอนครบถ้วน และได้รับการรับรองให้ใช้ในการประเมินผล มีจำนวน 30 รายจาก 33 ราย
ส่วนคนไข้โรคหอบหืด ผ่านขั้นตอนครบถ้วน และสามารถนำไปใช้ในการประเมินผลได้ 10 รายจาก 12 ราย

จากตารางที่ 1 เห็นได้ว่า คนไข้มีอาการลดลงของโรคภูมิแพ้อย่างมีนัยสำคัญในสิ้นสัปดาห์ที่ 4 อาการต่างๆได้ถูกประเมินตรงกันทั้งจากคนไข้ และแพทย์ , แม้กระทั่ง 2 อาทิตย์หลังจากที่หยุดใช้อุปกรณ์ อาการโรคภูมิแพ้ที่น้อยลง ก็พบว่ายังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง ( แต่ก็เป็นอัตราพอใจที่น้อยกว่าช่วงที่ใช้อุปกรณ์อยู่ )

[ อุปกรณ์ที่ใช้

คนไข้โรคหอบหืดที่ใช้อุปกรณ์ พบอาการภูมิแพ้ลดลงเช่นกัน อาทิเช่น หายใจลำบาก หายใจมีเสียงฟืดฟาด คนไข้เหล่านี้จะมีอาการเกิดขึ้นลดน้อยลง และคนไข้ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงตัวไรฝุ่นอีก นอกจากนี้พบว่า ค่า PEFR สูงขึ้นในช่วงที่ใช้อุปกรณ์

ความคิดเห็น

สารภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคภูมิแพ้ในโลกปัจจุบัน อุปกรณ์หลายชนิดได้ถูกแนะนำเพื่อใช้ลดหรือป้องกันตัวเองจากสารภูมิแพ้ มีการศึกษามากมายที่เกี่ยวกับการควบคุมสภาพแวดล้อมอันเกี่ยงโยงถึงโรคหอบหืด แต่น้อยมากที่จะทำการศึกษาผลกระทบต่ออาการของจมูก

ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ได้ถูกแนะนำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในบ้าน อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ + และ – จะมีบทบาทสำคัญมากต่อสารภูมิแพ้ ขณะที่โอโซนและไอออนอื่นๆไม่ได้มีบทบาทใดๆ , การทดสอบแสดงให้เห็นว่าการใช้ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้ ทั้ง in vitro และ in vivo อีกทั้งความสามารถของการทำงานจะแปรผันไปตามจำนวนความเข้มข้นอนุภาค

จากการวิจัยศึกษาการใช้ negative ionizer มาก่อนหน้านี้ พบว่าไม่มีผลต่ออาการภูมิแพ้แต่อย่างใด จึงไม่ได้แนะนำ negative ionizer ให้ใช้ในบ้าน และพบอีกว่า negative ionizer ร่วมกับ แผ่นกรองอากาศ ก็ไม่ได้ลดจำนวนสารภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่นแต่ประการใด เพราะยังตรวจเจอสารภูมิแพ้จำนวนมาก ปะปนอยู่ในฝุ่นละออง

จากข้อมูลที่ได้มาจากงานวิจัยนี้ คนไข้มีอาการดีขึ้น ไม่ว่าในส่วนจมูก และ ช่องในโพรงอากาศ ก็ตาม สังเกตได้ว่าอาการในส่วนจมูกดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะหยุดใช้ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ไปแล้วก็ตาม อีกทั้งระบบนี้อาจมีประโยชน์ต่อการลดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก โดยดูจากค่า PEFR ที่ดีขึ้น

การทดสอบครั้งนี้ไม่ได้ทำแบบ blinded study แต่ก็มีช่วงเวลาที่แบ่งชัดเจนระหว่างการใช้กับไม่ใช้ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ ฉะนั้นการนำระบบนี้ไปใช้ให้นานขึ้น น่าจะคาดหวังได้ว่ามีประโยชน์ที่ได้รับสูงขึ้นตามไปด้วย

การวิจัยอุปกรณ์ป้องกันสารภูมิแพ้ที่ถูกตีพิมพ์มากกว่า 12 แห่ง กล่าวว่าต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้นานกว่า 3 เดือน จึงจะพบว่ามีผลต่อการลดระดับสารภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่น แต่ก็มีช่วงประสิทธิภาพที่แตกต่างกันมากตั้งแต่ 39% จนถึง 99.9%

เครื่องฟอกอากาศแบบที่มีแผ่นกรอง HEPA และ เครื่องดูดฝุ่นพร้อมแผ่นกรอง HEPA สามารถลดปริมาณสารภูมิแพ้จากสัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่ไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้ว่าจะไปลดอาการโรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นิยมชมชอบการเลี้ยงสัตว์ได้ , ขณะที่การใช้สารเคมีกำจัดตัวไรฝุ่น ก็ยังไม่พบว่ามีประสิทธิภาพสูงพอ , นอกจากนี้ การศึกษาต่างๆที่ผ่านมา เรายังไม่พบวิธีการที่ดีสำหรับการป้องกันสารภูมิแพ้จากแมลงสาบ มีการศึกษาล่าสุดที่ใช้วิธีการทำความสะอาดแบบเข้มข้น ต่อเนื่องกัน 6 เดือน อาจกำจัดสารภูมิแพ้จากแมลงสาบได้ในอพาร์ทเม้นท์ แต่ก็ยังไม่มีผลทางคลินิกที่รับรองเรื่องนี้ , นอกจากนี้ยังมีเชื้อราที่ก่อปัญหาโรคภูมิแพ้ที่ยังไม่ได้คำตอบในการแก้ปัญหาในช่วงเวลาที่ผ่านมา

การใช้ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์จึงได้ผลดีกว่า เนื่องจากสามารถแปรสภาพสารภูมิแพ้จากต้นเหตุหลากหลายต่างๆ โดยไม่ต้องกังวลต่อพิษโอโซน , อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์จะไปแปรสภาพ IgE binding site ของสารภูมิแพ้ ในระดับโมเลกุล ทำให้ไม่สามารถไปจับกับ IgE antibody ในร่างกายได้

จากการศึกษาทดลองความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับขนาดปริมาณอนุภาค เห็นได้ว่าพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถทำลายเชื้อโรคหลากหลายสายพันธ์ได้ภายในไม่กี่นาที อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์จะไปทำลายโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์เชี้อโรค , และตรวจสอบยืนยันด้วยวิธีทาง electrophoresis ก็ไม่พบการทำลาย DNA และ Cytoplasm proteinในกลไกทำงาน

ผลจากการวิจัยครั้งนี้ เราสามารถยืนยันประสิทธิภาพของระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และการวิจัยอื่นๆเพิ่มเติมได้ว่า ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์มีประโยชน์กว้างขวางขึ้นต่อการทำลายเชื้อโรคในอากาศ จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่ทำให้อากาศสะอาด
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document