New Document









แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว!!

ข่าวสารสาธารณสุข

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 01 ส.ค. 2014, 05:14

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บูร์ก
(EBOLA-MARBURG VIRAL DISEASES)

1. ลักษณะโรค : เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรงที่มีอัตราป่วยตายสูง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา
(Ebolavirus)และเชื้อไวรัสมาร์บูร์ก (Marburgvirus) (ดังรูปที่ 20)

2. ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : การระบาดของโรคพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในซูดาน 800 กิโลเมตรจากแซร์อีร์ (ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พ.ศ. 2547สถานการณ์โรคในประเทศไทย : โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บูร์ก เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่งอัตราการแพร่ระบาดสูงและ เร็ว และอัตราค่อนข้างสูง(50-90%) ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้และโรคนี้ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวของประเทศไทย ก็อาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เชื้ออาจมาจากพื้นที่ระบาดของโรคเข้ามาในประเทศมาได้ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มประชากรบางกลุ่ม

3. อาการของโรค : ไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก ตามด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่รุนแรงหรือในบางรายที่เสียชีวิต อาการเลือดออกง่ายมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวายอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง และช็อก โดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่

4. ระยะฟักตัวของโรค : ประมาณ 2 - 21 วัน

http://www.healthfunfood.com/%E0%B9%82% ... %B8%88.htm
แนบไฟล์
10563075_517042558425705_8906047060839677811_n.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37







Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 01 ส.ค. 2014, 13:33

ผู้เชี่ยวชาญชาวไทย ผศ.ดร.วันชัย อัศวลาภสกุล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า อีโบลา หรือ EVD (Ebola Virus Disease) เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสอีโบลา (Ebola Virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสแบบมีเยื่อหุ้ม เป็นแท่งยาวแบบมีเส้นสาย (filamentous virions) จุดกำเนิดของเชื้ออีโบลานั้นเชื่อว่ามาจากประเทศทางทวีปแอฟริกาตะวันตก โดยมีแหล่งรังโรคอยู่ในลิงป่า และค้างคาวกินผลไม้ การแพร่ระบาดของเชื้ออีโบลานั้นจะติดจากคนสู่คนโดยการสัมผัสสารคัดหลั่ง และการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ


การระบาดที่เป็นข่าวในปัจจุบันนั้น ผศ.ดร.วันชัย เชื่อว่าสาเหตุหลักมาจากการเดินทางของผู้ป่วยจากประเทศแถบที่มีการระบาดของ เชื้อ โดยไม่มีมาตรการรับมือที่รัดกุมเพียงพอ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบอวัยวะภายในแย่ลง อาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย มีผื่นแดงขึ้นขึ้นตามตัว โดยเชื้อมีระยะการฟักตัวตั้งแต่ 2-21 วัน

“โดยส่วนตัวผมว่าค่อนข้างน่ากลัว แต่ไม่ได้กลัวที่เชื้อไวรัสเพราะ มีโอกาสติดยากมาก แต่น่ากลัวตรงที่หากติดแล้วยังไม่มีทางรักษา อีโบลาน่ากลัวกว่าไวรัสเอชไอวีที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ด้วยซ้ำ เพราะอีโบลาเป็นโรคติดต่อเฉียบพลันรุนแรง แต่เอดส์ร้ายแรงตรงที่หากเป็นแล้ว ภูมิคุ้มกันจะแย่ลงทำให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนมากขึ้น แต่ไม่อยากให้คนไทยตื่นตระหนกจนมากไปนัก เพราะโอกาสติดเป็นไปได้ยาก และมีโอกาสน้อย ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศทางแถบแอฟริกาตะวันตก และรักษาสุขภาพของตัวเองให้สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขอนามัยที่ดีก็น่าจะเพียงพอ” ผศ.ดร.วันชัย เผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์

ทั้งนี้ไวรัส อีโบลาจัดเป็นเชื้อที่ต้องควบคุมไว้ในห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุมความปลอดภัยสูงสุดในระดับ 4 (Biosafety level 4) ซึ่ง ผศ.ดร.วันชัย ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องใส่ชุดคล้ายชุดนักบินอวกาศในการปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อ โดยชุดจะสามารถป้องกันเชื้อและฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กได้ถึง 0.01 ไมครอน มีการใส่ห่อหายใจภายในเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและหลังจากการใช้ชุดจะถูกทำ ความสะอาดและกำจัดเชื้ออีกครั้งด้วยเครื่องอบให้ความร้อน (Autoclave)

http://www.manager.co.th/Science/ViewNe ... 0000086770
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 01 ส.ค. 2014, 13:40

แพทย์ชาวอเมริกันและมิชชันนารี ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า อาการแย่ลง ส่วนเซรุ่มทดลอง ก็มีเพียงโดส เดียว และคาดว่า ทั้งสองคนจะถูกส่งกลับไปรักษาตัวที่สหรัฐ

http://www.nationtv.tv/main/content/foreign/378418143/
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 04 ส.ค. 2014, 08:31

จีนวางมาตรการป้องกันเชื้ออีโบล่า โดยให้ผู้เดินทางเข้าประเทศต้องผ่านเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ และถูกตรวจเลือดทันทีหากพบว่ามีไข้เล็กน้อย นอกจากนี้ยังกักกันผู้โดยสารรวมทั้งเที่ยวบินสินค้าจากพื้นที่ติดเชื้อ อีกทั้งติดตั้งระบบติดตามผู้ป่วยที่เดินทางต่อไปยังเมืองต่าง ๆ และให้เจ้าหน้าที่การแพทย์ทุกระดับในโรงพยาบาลทุกแห่งเข้ารับการฝึกอบรมทางเทคนิคเพื่อรับมือกับเชื้ออีโบล่า


ข้อมูลอ้างอิง :
China preparing measures to keep Ebola virus out
http://english.peopledaily.com.cn/n/201 ... 64222.html
China’s Guangzhou, Popular African Destination, Worried About Ebola
http://blogs.wsj.com/chinarealtime/2014 ... out-ebola/
แนบไฟล์
10552612_10202686696072743_1610432139564220531_n.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 04 ส.ค. 2014, 11:52

อีโบลา - สัมผัสติดตาย ไม่มีทางรักษา มีแต่ตายลูกเดียว

การติดต่อระหว่างคนสู่คนนั้นผ่านทางเพศสัมพันธ์ การสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่งต่างๆ และที่สำคัญ คือ “เหงื่อ เพราะเพียงแค่ผู้ติดเชื้ออีโบลาในระยะแสดงอาการใช้มือสัมผัสลูกบิดประตู ราวบันได มือจับห้อยโหนในรถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า โต๊ะเก้าอี้ต่างๆ ฯลฯ ก็สามารถแพร่เชื้อได้ทันที

ดังนั้น หนทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับสาธารณะก็คือ การล้างมือและสวมถุงมือยาง นอกจากนี้ก็ยังมีหน้ากากปิดจมูก เพราะแม้เชื้ออีโบลาจะไม่ติดต่อทางอากาศ แต่การถูกไอหรือจามใส่หน้าตรงๆ ก็ทำให้ติดเชื้อได้เหมือนกัน

กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวเตือนประชาชนให้ระวัง และยืนยันว่า กระทรวงมี “ความพร้อม” ในการรับมือ แต่พร้อมอย่างไรไม่ได้บอกไว้ นอกจากบอกว่า “จัดตั้งศูนย์ติดตาม”

ข้อมูลเบื้องต้น คือ เชื้ออีโบลามีการฟักตัวนาน 3 สัปดาห์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่า ผู้นำเชื้ออีโบลาเข้าสู่ประเทศไทยจะต้องเป็นคนที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกาเท่านั้น เพราะในระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เราไม่ทราบว่าใครบ้างที่เดินทางไปมากันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยตรงหรือแค่เปลี่ยนผ่านตามสนามบินต่างๆ ก็ตาม

ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวปีละ 40 ล้านคน แต่หากนับถึงจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศผ่านสนามบินนานาชาติทั้ง 12 แห่งนั้น มีจำนวนมากกว่าปีละ 50 ล้านคน ยังไม่รวมท่าเรือสินค้าอีก 8 แห่ง ซึ่งมีเรือต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ประเทศอีกปีละหลายพันลำ และด่านชายแดนต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง ขณะนี้จำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้มาตรการเฝ้าระวังระดับคุมเข้ม?

กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการอย่างไรกับการคัดกรองและตรวจสอบผู้คนที่เดินทางเข้าประเทศทั้งหมด? หากเราใช้เครื่องสแกนตรวจวัดอุณหภูมิ เครื่องเหล่านั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด? เรามีทั้งหมดกี่เครื่อง? เพียงพอกับทุกช่องทางเข้าประเทศหรือไม่? ทุกวันนี้เราใช้กันอยู่หรือไม่?

นั่นแค่ด่านแรก ทีนี้เรามาพูดถึงด่านสอง คือ เมื่อพบผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้ออีโบลา

การตรวจเชื้อผู้ต้องสงสัยเพื่อยืนยันว่าติดเชื้ออีโบลานั้นรับผิดชอบโดยหน่วยงานใด? กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช่หรือไม่? ตรวจได้กี่สายพันธุ์? ใช้ระยะเวลาในการตรวจนานเท่าใด? เหตุใดจึงต้องส่งไปตรวจที่สหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว? ประเทศไทยทั้งประเทศมีหน่วยงานใดตรวจได้อีกหรือไม่?

เครื่องไม้เครื่องมืออื่นๆ เช่น ชุดป้องกัน อุปกรณ์ควบคุมและขนย้ายผู้สงสัยว่าติดเชื้อ รถพยาบาลและเตียงเข็นผู้ป่วยที่ถูกออกแบบพิเศษให้รองรับผู้ป่วยติดเชื้อในลักษณะนี้นั้นเรามีหรือไม่? เรามีจำนวนเท่าใด? เรามีเพียงพอหรือไม่?
เชื่อได้ว่า รถป่อเต็กตึ๊ง รถพยาบาล และเตียงเข็นผู้ป่วยทั่วๆ ไปนั้นไม่สามารถรับมือกับอีโบลาได้แน่นอน

http://www.oknation.net/blog/Tip2/2014/08/04/entry-1
แนบไฟล์
Ebola21 (Copy).jpg
Ebola21 (Copy).jpg (23.51 KiB) เปิดดู 9247 ครั้ง
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 05 ส.ค. 2014, 05:45

Healthfunfood Thailand

ผวา! ‪#‎ไนจีเรีย‬ พบหมอติดเชื้อ '‪#‎อีโบลา‬' รายที่ 2 จากผู้ป่วยไลบีเรีย

ทางการไนจีเรียยืนยัน พบผู้ติดเชื้อไวรัส อีโบลา รายที่ 2 ของประเทศแล้ว โดยเป็น ‪#‎หมอ‬ ที่ทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยอีโบลารายแรกของประเทศ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อราวสองสัปดาห์ก่อน...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ไนจีเรียพบผู้ติดเชื้อไวรัส 'อีโบลา' ‪#‎รายที่‬ 2 ของประเทศแล้ว โดยเป็นหมอที่ทำการรักษา นายแพทริค ซอว์เยอร์ ชาวอเมริกัน-ไลบีเรียติดเชื้อไวรัสมรณะตัวนี้ก่อนเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารมายังเมืองลากอส เมืองใหญ่ที่สุดของไนจีเรีย และเสียชีวิตเมื่อราวสองสัปดาห์ก่อน

นาย อนเยบูชี ชุควู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไนจีเรีย ยืนยันเมื่อวันจันทร์ (4 ส.ค.) ว่า ผลการตรวจการติดเชื้อของหมอรายนี้ ได้ผลเป็นบวก และมีคนอีกอย่างน้อย 70 คนที่เชื่อว่าติดต่อกับชายชาวไลบีเรียผู้นี้กำลังถูกเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ โดยมี 8 คนถูกแยกไว้ในเขตกักกันโรค และ 3 คนในจำนวนนี้ เริ่มแสดงอาการป่วยด้วย แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ โดยการตรวจจะออกมาในเร็วๆนี้ หนังสือพิมพ์รายงานข่าวการเสียชีวิตของนายแพทริค ซอว์เยอร์ ในประเทศไนจีเรีย

อนึ่ง นายแพทริค ซอว์เยอร์ ซึ่งทำงานในกระทรวงการคลังของไลบีเรีย ติดเชื้ออีโบลาจากน้องสาวของเขาก่อนจะเดินทางไปร่วมการประชุมที่เมืองลากอส โดยเขาเดินทางจากกรุงมอนโรเวีย ต่อเครื่องบินที่กรุงโลเม เมืองหลวงของประเทศโตโก และมาถึงเมืองลากอสในวันที่ 20 ก.ค. โดยเขาแสดงออกมาว่ามีอาการป่วยบางอย่างอย่างชัดเจน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที ก่อนจะเสียชีวิตในห้องกักกันผู้ป่วยในวันที่ 25 ก.ค. และโรงพยาบาลแห่งนั้นก็ถูกปิดอย่างไม่มีกำหนดเมื่อสัปดาห์ก่อน

ทั้งนี้ ไวรัสอีโบลากำลังระบาดอย่างรุนแรงในประเทศกินี, ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน โดยล่าสุดพบผู้ป่วยในทั้ง 3 ประเทศแล้ว 1,440 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตไปแล้ว 887 คน การพบผู้ป่วยรายที่ 2 ในไนจีเรียทำให้เกิดกระแสความกังวลในเรื่องการควบคุมการติดต่อของโรคในประเทศแห่งนี้ และทำให้เกิดความกลัวว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากโรคไข้เลือดออกอีโบลาใช้เวลา 2-21 วันจึงจะแสดงอาการป่วย
แนบไฟล์
EyWwB5WU57MYnKOuFBrB1QpTTIWEDpi1CN0SeNRKAwenqcg9MohgN5.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 05 ส.ค. 2014, 08:33

ผวา! ไนจีเรียพบหมอติดเชื้อ 'อีโบลา' จากผู้ป่วยไลบีเรีย รายที่ 2 ของประเทศแล้ว

ทางการไนจีเรียยืนยัน พบผู้ติดเชื้อไวรัส อีโบลา รายที่ 2 ของประเทศแล้ว โดยเป็นหมอที่ทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยอีโบลารายแรกของประเทศ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อราวสองสัปดาห์ก่อน...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ไนจีเรียพบผู้ติดเชื้อไวรัส 'อีโบลา' รายที่ 2 ของประเทศแล้ว โดยเป็นหมอที่ทำการรักษา นายแพทริค ซอว์เยอร์ ชาวอเมริกัน-ไลบีเรียติดเชื้อไวรัสมรณะตัวนี้ก่อนเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารมายังเมืองลากอส เมืองใหญ่ที่สุดของไนจีเรีย และเสียชีวิตเมื่อราวสองสัปดาห์ก่อน

นาย อนเยบูชี ชุควู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไนจีเรีย ยืนยันเมื่อวันจันทร์ (4 ส.ค.) ว่า ผลการตรวจการติดเชื้อของหมอรายนี้ ได้ผลเป็นบวก และมีคนอีกอย่างน้อย 70 คนที่เชื่อว่าติดต่อกับชายชาวไลบีเรียผู้นี้กำลังถูกเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ โดยมี 8 คนถูกแยกไว้ในเขตกักกันโรค และ 3 คนในจำนวนนี้ เริ่มแสดงอาการป่วยด้วย แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ โดยการตรวจจะออกมาในเร็วๆนี้

หนังสือพิมพ์รายงานข่าวการเสียชีวิตของนายแพทริค ซอว์เยอร์ ในประเทศไนจีเรียอนึ่ง นายแพทริค ซอว์เยอร์ ซึ่งทำงานในกระทรวงการคลังของไลบีเรีย ติดเชื้ออีโบลาจากน้องสาวของเขาก่อนจะเดินทางไปร่วมการประชุมที่เมืองลากอส โดยเขาเดินทางจากกรุงมอนโรเวีย ต่อเครื่องบินที่กรุงโลเม เมืองหลวงของประเทศโตโก และมาถึงเมืองลากอสในวันที่ 20 ก.ค. โดยเขาแสดงออกมาว่ามีอาการป่วยบางอย่างอย่างชัดเจน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที ก่อนจะเสียชีวิตในห้องกักกันผู้ป่วยในวันที่ 25 ก.ค. และโรงพยาบาลแห่งนั้นก็ถูกปิดอย่างไม่มีกำหนดเมื่อสัปดาห์ก่อน

ทั้งนี้ ไวรัสอีโบลากำลังระบาดอย่างรุนแรงในประเทศกินี, ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน โดยล่าสุดพบผู้ป่วยในทั้ง 3 ประเทศแล้ว 1,440 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตไปแล้ว 887 คน การพบผู้ป่วยรายที่ 2 ในไนจีเรียทำให้เกิดกระแสความกังวลในเรื่องการควบคุมการติดต่อของโรคในประเทศแห่งนี้ และทำให้เกิดความกลัวว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากโรคไข้เลือดออกอีโบลาใช้เวลา 2-21 วันจึงจะแสดงอาการป่วย

http://www.thairath.co.th/content/441165
แนบไฟล์
111.jpg
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 06 ส.ค. 2014, 08:44

ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้ออีโบลาในแอฟริกาตะวันตก ที่ตอนนี้พบผู้ติดเชื้อในไนจีเรียเป็นรายที่ 2 แล้ว ขณะที่องค์การอนามัยโลก เผยมีผู้เสียชีวิตจากอีโบลาแล้ว 887 คน

โดยผู้ติดเชื้อรายล่าสุด เป็นแพทย์ชาวไนจีเรีย ซึ่งเป็นผู้ที่รักษา Patrick Sawyer เจ้าหน้าที่รัฐบาลไลบีเรียเชื้อสายอเมริกัน ผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่มาเสียชีวิตในไนจีเรียเป็นรายแรก ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไนจีเรีย สั่งสังเกตอาการของ 70 คน ที่สัมผัสกับผู้เสียชีวิตรายนี้ โดย 3 คน ใน 8 คนที่ถูกแยกกัก เริ่มมีสัญญาณว่าอาจ...ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ขณะที่โรงพยาบาลต้องปิดทำการตั้งแต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ด้านธนาคารโลก หรือ World Bank ประกาศให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉินมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กับ 3 ประเทศที่มีการแพร่ระบาด คือ กินี ไลบีเรีย และ เซียร์ราลีโอน รวมทั้ง WHO เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของอีโบลา ที่ล่าสุด WHO ได้ปรับยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก เป็นอย่างน้อย 887 คน

ส่วนเครื่องบินที่จะพานาง Nancy Writebol อาสาสมัครวัย 59 ปี ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลา กลับมารักษาตัวในสหรัฐฯ ได้ออกเดินทางจากกรุงมอนโนเวียของไลบีเรียแล้ว โดยนาง Writebol จะมารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Emory เมืองแอตแลนตา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวกับนายแพทย์ Kent Brantly เข้ารับการรักษา อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า อาการของนาง Writebol ยังคงน่าเป็นห่วง
ส่วนที่โรงพยาบาล Mount Sinai ในนครนิวยอร์ก กำลังตรวจสอบผู้ป่วยรายหนึ่งว่าติดเชื้อไวรัสอีโบลาหรือไม่ หลังพบชายคนหนึ่ง เพิ่งเดินทางกลับจากแอฟริกาตะวันตก และมีอาการไข้ขึ้นสูงและปวดท้อง ซึ่งคาดว่าจะทราบผลตรวจภายในวันนี้

วันที่ 05 สิงหาคม 2557 เวลา 11:11:08 น.

http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0 ... B8%A2.html
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 06 ส.ค. 2014, 11:04

“มิชชันนารีสเปน” ในไลบีเรียติดเชื้ออีโบลา! รบ.กระทิงดุส่งเครื่องบินรับกลับประเทศ

เอเอฟพี – รัฐบาลสเปนเตรียมส่งเครื่องบินไปยังไลบีเรียเพื่อรับตัวมิชชันนารีสูงวัยผู้หนึ่งที่ติดเชื้อไวรัสมรณะ “อีโบลา” กลับมารักษาพยาบาลในบ้านเกิด กระทรวงกลาโหมแดนกระทิงดุแถลงเมื่อค่ำวานนี้(5) กระทรวงได้แถลงผ่านทวิตเตอร์ว่า เปโดร โมเรเนส รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสเปน มีคำสั่งให้เตรียมเครื่องบินแอร์บัส A310 “พร้อมบุคลากรและเครื่องมือแพทย์” เพื่อส่งไปรับพลเมืองซึ่งเข้าไปทำงานในไลบีเรีย โดยคาดว่าเครื่องบิ...นลำนี้จะพร้อมออกเดินทางได้ในเวลา 5.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (10.00 น. ตามเวลาในไทยวันนี้) กระทรวงกลาโหมไม่ได้ระบุวันเวลาที่ครูสอนศาสนาจะเดินทางกลับถึงแผ่นดินสเปน และไม่แจ้งด้วยว่า สถานพยาบาลแห่งใดจะถูกใช้เป็นที่ดูแลผู้ติดไวรัสมรณะซึ่งทำให้มีภาวะเลือดออกอย่างรุนแรงนี้

มิเกล ปาฆาเรส มิชชันนารีโรมันคาทอลิกวัย 75 ปี ถูกตรวจพบเชื้ออีโบลาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงมอนโรเวีย ตามข้อมูลซึ่งองค์กรช่วยเหลือที่เขาทำงานอยู่ด้วยแถลงออกมาเมื่อวานนี้(5) ปาฆาเรส ถูกกักตัวเพื่อรอดูอาการอยู่ที่โรงพยาบาล เซนต์ โจเซฟ ร่วมกับเพื่อนมิชชันนารีอีก 5 คน หลังจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งนี้เพิ่งจะเสียชีวิตลงจากเชื้ออีโบลาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา(2) ปาฆาเรส ทำงานอยู่ในไลบีเรียมานานกว่า 50 ปี โดยในช่วง 7 ปีหลังนี้ได้เข้ามาทำงานกับโรงพยาบาล เซนต์ โจเซฟ

ฆวน ชิอูดัด โอเอ็นจีดี องค์กรบรรเทาทุกข์ของสเปน ระบุว่า สตรีชาวคองโก 1 คน และชาวกินีอีก 1 คน ซึ่งทางโรงพยาบาลกักตัวไว้เพื่อดูอาการ ก็ตรวจพบเชื้ออีโบลาเช่นกัน

จากบทสัมภาษณ์ซึ่งออกอากาศทางสถานีข่าวซีเอ็นเอ็นภาคภาษาสเปนเมื่อวันจันทร์(4) ปาฆาเรส กล่าวว่า เขาและมิชชันนารีคนอื่นๆ ต้องการกลับไปรักษาตัวที่สเปน “ผมมีอาการไข้ ไม่อยากรับประทานอะไรเลย ผมอยู่เฉยๆ โดยไม่ทานอะไรก็ได้ รู้สึกปวดตามข้อกระดูก และต้องขอให้ผู้อื่นช่วยพยุงเวลาจะไปไหนมาไหน” ปาฆาเรส กล่าว “เราหวังว่ารัฐบาลจะช่วยอพยพเราออกไป สำหรับเราแล้วการได้กลับสเปนคงเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะมั่นใจได้ว่าเราจะได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ที่เก่ง และคงอาการดีขึ้นหากพระเจ้าทรงประสงค์”
ชาวอเมริกัน 2 คนซึ่งทำงานกับองค์กรคริสต์ในไลบีเรียและติดเชื้ออีโบลาขณะช่วยดูแลผู้ป่วยในกรุงมอนโรเวีย ก็ถูกส่งตัวกลับไปรักษาพยาบาลที่สหรัฐฯ แล้ว เมื่อไม่กี่วันก่อน

จำนวนผู้ติดเชื้ออีโบลาในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกพุ่งสูงกว่า 1,600 รายนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็นการแพร่ระบาดครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ยอดผู้เสียชีวิตในเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย กินี และไนจีเรีย อยู่ที่ 887 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 55 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้ประกาศมอบเงินทุน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่รัฐบาลกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน เพื่อนำไปใช้สกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะ

อีโบลา เป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ดังนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วย หรือทำหน้าที่รักษาพยาบาล จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด
แนบไฟล์
ebola spain2.jpg
ebola spain2.jpg (20.09 KiB) เปิดดู 9239 ครั้ง
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 06 ส.ค. 2014, 16:46

เหมือนในหนัง Outbreak เข้าไปทุกทีทุกทีแล้ว ... เอาอยู่

ส่งทหารคุมพื้นที่ระบาดอีโลาในเซียร์ราลีโอน-ไลบีเรีย สายการบินบริติช แอร์เวย์ระงับเที่ยวบินไป-กลับถึงส.ค.นี้ เดอะ การ์เดียน สื่อจากอังกฤษรายงานว่า ทหารกว่า 700 นาย เคลื่อนกำลังพลเข้าไปในเซียร์ราลีโอนและไลบีเรีย....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1oaz7aO
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 07 ส.ค. 2014, 09:12

ยอดเหยื่ออีโบลาจ่อ1,000ศพ-ไลบีเรียเข้าตาจนพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย

เอเอฟพี - ยอดผู้เสียชีวิตจากอีโลบาขยับเข้าใกล้ 1,000 ศพแล้วในวันพุธ(6ส.ค.) ท่ามกลางความหวาดวิตกว่าการแพร่ระบาดของมันกำลังลุกลามไปยังไนจีเรีย ชาติที่มีพลเมืองมากที่สุดของแอฟริกา หลังจากพบผู้เสียชีวิตเป็นรายที่ 2 ในหมู่ผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน 7 คนที่เมืองลากอส ขณะที่สถานการณ์ในไลบีเรียเริ่มวิกฤตหนัก จนประธานาธิบดีต้องหันไปพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสั่งสวดมนต์ภาวนาทั่วประเทศ

การลุกลามของโรคติดต่อนี้เกิดขึ้นขณะที่องค์การอนามัยโลก(WHO)จัดประชุมฉุกเฉินในเจนีวา เพื่อตัดสินใจว่าจะมีการประกาศเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขนานาชาติหรือไม่ อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่าจะไมีมีแถลงประกาศการตัดสินใจใดๆต่อสาธารณชนจนกว่าจะถึงวันศุกร์นี้(8ส.ค.)

องค์การอนามัยโลกเปิดเผยในวันพุธ ว่ายอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสมรณะชนิดนี้ในแอฟริกาตะวันตก เพิ่มเป็น 932 รายแล้ว นับตั้งแต่มันเริ่มแพร่ระบาดเมื่อช่วงต้นปี ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน 1,711 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกินี ไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน

เหตุเสียชีวิตของพยาบาลคนหนึ่งในเมืองลากอส มหานครที่มีประชากร 20 ล้านคน มีขึ้นขณะที่มีการยืนยันว่าช่วงระหว่างวันเสาร์(2ส.ค.)ถึงวันจันทร์(4ส.ค.) มีผู้เสียชีวิตทั่วแอฟริกาตะวันตกเพิ่มเติมอีก 45 ราย ด้วยหน่วยงานความช่วยเหลือต่างๆ ในนั้นรวมถึงองค์การแพทย์ไร้พรมแดน บอกว่าโรคระบาดที่น่าสยดสยองนี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว

ในกรุงมันโรเวีย เมืองหลวงของไลบีเรีย ซึ่งศพเหยื่อถูกทิ้งไว้ตามท้องถนนและในบ้านเรือน ทางประธานาธิบดีเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ วิงวอนขอความช่วยเหลือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสั่งอดอาหารและสวดมนต์ภาวนาทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน เริ่มตั้งแต่วันพุธ(6) เป็นต้นไป

ส่วนในเซียร์ราลีโอน ชาติที่ยืนยันพบผู้ติดเชื้อมากที่สุด มีการส่งทหารเข้าไปอารักขาโรงพยาบาลต่างๆเพื่อป้องกันญาติๆและเพื่อนของผู้ป่วยอีโบลา ใช้กำลังพาตัวพวกเขาไปจากโรงพยาบาลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากแพทย์ ขณะที่กำลังพลซึ่งถูกส่งไปประจำการในโซมาเลีย ส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาสันติภาพสหภาพแอฟริกา ก็ได้รับคำสั่งเมื่อวันพุธ(6)ให้อยู่ในโซมาเลียต่อไปอีกสักระยะ เนื่องจากความเสี่ยงติดเชื้ออีโบลาหากเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ

แม้การแพร่ระบาดที่ไนจีเรีย ยังถือว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับชาติแอฟริกาตะวันตกอื่นๆที่ได้รับผลกระทบ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในลากอส ได้ก่อความท้าทายใหญ่หลวงแก่เจ้าหน้าที่สาสาธารณสุข ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันทั้งหมด 7 รายของประเทศ ล้วนแค่เคยสัมผัสกับ นายแพทริค ซอว์เยอร์ ลูกจ้างกระทรวงการคลังของไลบีเรีย ซึ่งเป็นคนนำเชื้อไวรัสมายังลากอสเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม

ซอว์เยอร์ ซึ่งเดินทางมาจากมันโรเวีย ผ่านเมืองหลวงของโตโก เพื่อร่วมประชุมระดับภูมิภาค ถูกตรวจพบว่ามีอาการป่วยตอนที่เดินทางมาถึงสนามบินนานาชาติในลากอส จากนั้นเขาก็ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที ทั้งนี้เขาเสียชีวิตในสถานกักกันโรคเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม หลังจากแพร่เชื้อให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหลายคน ในนั้นรวมไปถึงพยาบาลคนหนึ่ง ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตเมื่อคืนวันอังคาร(5ส.ค.)

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่าทางการไนจีเรียกำลังสังเกตอาการชาวบ้าน 70 คนที่เชื่อว่ามีการสัมผัสกับนายซอว์เยอร์ ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐลากอสคนหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยยามเผยว่าเหล่าเจ้าหน้าที่กำลังติดตามพลเมืองทุกคนที่เป็นไปได้ว่าได้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อรายอื่นๆอีก 6 คน แต่เขาไม่ได้ระบุตัวเลขว่ามีประชาชนจำนวนเท่าใดที่ต้องอยู่ภายใต้การสังเกตอาการ

กาชาดสากลเตือนในวันพุธ(6ส.ค.) ว่าการจำกัดการแพร่ระบาดของอีโบลาจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถเอาชนะใจสาธารณชนให้ได้เสียก่อน ด้วยระบุการถูกตราหน้าและความมีอคติ บ่อยครั้งก็ฆ่าชีวิตคนมากพอๆกับเชื้อไวรัส โดยนายเอลฮัดจ์ อัส ซีย์ ประธานสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ บอกว่าโลกจำเป็นต้องนำการต่อสู้กับโรคเอดส์มาเป็นบทเรียน ซึ่งการกล่าวโทษดุด่าไม่สามารถช่วยอะไรได้

"ด้วยวัฒนธรรมของชาวแอฟริกาตะวันตก มันเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะบอกผู้คนว่าอย่าข้องแวะกับบุคคลอันเป็นที่รักที่ล้มป่วย แต่สถานการณ์แบบนี้พวกเขาจำเป็นจะต้องทำแบบนั้น" เขากล่าวด้วยชี้ว่าพิธีการอาบน้ำศพตามความเชื่อทางศาสนาทำให้ความพยายามจำกัดการแพร่ระบาดยุ่งยากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่อีโบลาสามารถแพร่ระบาดผ่านการสัมผัสกับศพผู้เสียชีวิต

รัฐบาลสเปนเตรียมส่งเครื่องบินไปยังไลบีเรียเพื่อรับตัว มิเกล ปาฆาเรสกลับมารักษาพยาบาลในบ้านเกิด หลังจาก มิชชันนารีโรมันคาทอลิกวัย 75 ปีรายนี้ ที่ทำงานในโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟ ในกรุงมันโรเวีย มานานกว่า 7 ปี ถูกตรวจพบเชื้ออีโบลา

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันที่ผ่านมา ชาวอเมริกัน 2 คนที่ทำงานให้กับองค์กรช่วยเหลือคริสเตียนในไลบีเรีย ก็ถูกส่งกลับมารักษาตัวในสหรัฐฯ หลังถูกตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสมรณะชนิดนี้เช่นกัน

ทั้งคู่อาการดีขึ้นมากหลังได้รับยาต้านไวรัส อย่างไรก็ตามไม่สามารถระบุได้ว่ายาต้านไวรัสเป็นสาเหตุที่ทำให้ทั้งคู่อาการดีขึ้นจริงหรือไม่ และจะมีอาการข้างเคียงหรือเปล่า เพราะยังไม่เคยมีการทดสอบยาตัวนี้ในมนุษย์มาก่อน แต่การทดสอบในลิงก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จด้วยดี ขณะที่วัคซีนป้องกันเชื้ออีโบลา สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐฯ จะเริ่มการทดสอบกับมนุษย์ช่วงกลางเดือนกันยายนนี้

มีรายงานว่าชาวซาอุดีอาระเบียรายหนึ่งซึ่งเดินทางกลับจากเซียร์ราลีโอนและมีอาการคล้ายคนติดเชื้ออีโบลา เสียชีวิตลงแล้วในวันพุธ(6) ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้เปิดเผยผลตรวจอีโบลา แต่บอกว่าศพของเขาจะถูกฝังตามพิธีกรรมอิสลามภายใต้มาตรการป้องกันไว้ก่อนต่างๆนานาที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโลก

อนึ่งนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ติดเชื้อแล้ว บุคคลที่ดำเนินการฝังเหยื่อที่เสียชีวิตจากอีโบลา คือกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมากที่สุด

http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000089711

http://www.youtube.com/watch?feature=pl ... sEKGainh3M
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 07 ส.ค. 2014, 10:35

CDC Raises Response to Highest Alert Amid Ebola Outbreak

The Centers for Disease Control and Prevention on Wednesday ramped up its response to the expanding Ebola outbreak, a move that frees up hundreds of employees and signals the agency sees the health emergency as a potentially long and serious one.
The CDC’s “level 1 activation” is reserved for the most serious public health emergencies, and the agency said the move was appropriate considering the outbreak’s “potential to affect many lives.” The CDC took a similar move in 2005 in the aftermath of Hurricane Katrina, and again in 2009 during the bird-flu threat.

The Ebola outbreak is believed to have killed 932 people in the African nations of Liberia, Sierra Leone, Nigeria and Guinea. Two American aid workers sickened by the disease were flown back to the U.S. for treatment at a medical facility in Atlanta.
The CDC is deploying additional staff to the four affected countries, and said 50 more disease-control experts should arrive there in the next 30 days. It also issued instructions to airlines that may come into contact with passengers from the affected countries designed to minimize the chance of infection.

http://www.nbcnews.com/storyline/ebola- ... ak-n174496
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 07 ส.ค. 2014, 11:16

ตามติด!! WHO ถกเครียดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไวรัสอีโบลาหรือไม่ 07-08-14 08:33

ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกร่วมประชุมหารือที่กรุงเจนีวาวันที่ 2 ถกตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลกไวรัสอีโบลาหรือไม่ หลักผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในประเทศกลุ่มเสี่ยง

วันนี้ ( 7 ส.ค.57 ) ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก จะร่วมประชุมหารือเป็นวันที่ 2 ที่กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อหาทางยับยั้งการแพร่ระบาด และตัดสินใจว่าจะประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลกหรือไม่
ทั้งนี้ ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์รา ลีโอน พบผู้ป่วยอีโบลารายใหม่ 108 คน ทำให้จำนวนผู้ป่วยตั้งแต่ต้นปีมีจำนวน 1,711 คน ซึ่งในส่วนของไนจีเรีย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5 คนที่เมืองลากอส เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮารา ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว 7 คน
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ล่าสุดชายชาวซาอุดิอาระเบียที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสอีโบลาได้เสียชีวิต แล้วด้วยอาการหัวใจวา ส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตรวม 923 ราย

http://www.tnews.co.th/html/content/100354/
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 08 ส.ค. 2014, 08:45

ผศ.ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ยอมรับว่า อุปกรณ์ชีวนิรภัยระดับ 4 หรือระดับป้องกันสูงสุดเป็นเรื่องสำคัญมาก อยากให้ทุกฝ่ายวางแผนรับมือในเรื่องนี้ เพราะสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยอีโบลามีความรุนแรงมาก แม้จะไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเสมหะ แต่หากผู้ป่วยจามไอในอากาศก็อาจมีเชื้อผสมเป็นเหมือนหยดน้ำเล็ก ๆ หากสูดเข้าไปร่างกายจะติดเชื้อทันที

**************************************************************************************************************************************************

นักวิทย์ฯไทยผวา ! ไร้ชุดป้องกันอีโบล่า ขอ "งบฉุกเฉิน" คสช.ด่วน ! ..

การแพร่ระบาดของเชื้ออีโบลาไวรัสอันตรายระดับสูงสุดของโลกนั้น แม้ยังตรวจไม่พบในประเทศไทย แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเริ่มรู้สึกกังวลถึงแนวทางรับมือ หากมีระบาดมายังทวีปเอเชีย โดย...เฉพาะจากคนไทยหรือชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา เนื่องจากปัจจุบันห้องแลปวิเคราะห์เชื้อโรคของไทยยังไม่มีชุดอุปกรณ์ป้องกันไวรัสร้ายระดับนี้

"ตอนนี้พวกเราไม่มีอุปกรณ์ไบโอเซฟตี้ หรือเครื่องป้องกันชีวนิรภัยระดับ 4 เลย มีเพียงระดับ 3 เท่านั้น เพราะห้องแลปในประเทศไทยยังไม่มีระดับ 4 ซึ่งต้องลงทุนเงินมหาศาล ทั่วโลกมีห้องทดลองปลอดภัยระดับ 4 ไม่กี่แห่งเท่านั้น ทุกวันนี้กำลังกลุ้มใจปรึกษากันว่า หากมีโรงพยาบาลส่งเชื้อมาให้ตรวจจริง ใครจะทำ เพราะคงไม่กล้าเสี่ยงให้ทีมนักวิจัยของเราทำแน่ ๆ คงต้องส่งไปห้องแลปต่างประเทศ มีค่าใช้จ่ายเกือบแสนบาท แต่ถ้าเชื้ออีโบลาระบาดหนักไปทั่วโลกจริง คงไม่มีใครช่วยเราตรวจได้ เหมือนอย่างกรณีไวรัสหวัดใหญ่ 2009 ทุกประเทศต้องช่วยตัวเอง" ศ.ดร.พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

ทั้งนี้ ชุดอุปกรณ์เบื้องต้นที่ใช้ป้องกันนักวิจัยหรือแพทย์ผู้ต้องสัมผัสเชื้ออีโบลานั้น จะเป็นชุดชีวนิรภัยพิเศษใช้ในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับสูงสุด (Biosafety Laboratory Level, BSL) และตู้ที่เก็บเชื้อไวรัสชนิดนี้ต้องมีระบบป้องกันพิเศษเช่นกัน ศ.ดร.พิไลพันธ์ ยอมรับว่า ส่วนตัวแล้วคงไม่กล้าให้บุคลากรในห้องทดลองไปรับเอาเลือดที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นไวรัสอีโบลามาตรวจวิเคราะห์อย่างแน่นอน หากไม่ได้สวนใส่ชุดชีวนิรภัยป้องกันเชื้อโรคระดับ 4 ซึ่งเป็นชุดที่มีอุปกรณ์ช่วยกรองอากาศ และต้องสวมใส่ถุงมือรวมพิเศษด้วย เพราะไม่มีใครรู้ว่าเชื้ออันตรายตัวนี้จะแพร่กระจายแบบไหนได้บ้างในระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจหาสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ

ด้าน ผศ.ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ยอมรับว่า อุปกรณ์ชีวนิรภัยระดับ 4 หรือระดับป้องกันสูงสุดเป็นเรื่องสำคัญมาก อยากให้ทุกฝ่ายวางแผนรับมือในเรื่องนี้ เพราะสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยอีโบลามีความรุนแรงมาก แม้จะไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเสมหะ แต่หากผู้ป่วยจามไอในอากาศก็อาจมีเชื้อผสมเป็นเหมือนหยดน้ำเล็ก ๆ หากสูดเข้าไปร่างกายจะติดเชื้อทันที

"ที่น่าเป็นห่วงคือสถานพยาบาลต่างจังหวัดบางแห่ง มีแค่หน้ากากอนามัยธรรมดา ไม่ได้มีหน้ากากพิเศษให้หมอหรือพยาบาลใส่ อยากให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันด้วย และที่สำคัญหากตรวจพบผู้ป่วยต้องสงสัยในต่างจังหวัดแล้ว ควรมีการจัดหาพื้นที่หรือสถานกักกันโรคชั่วคราว เพื่อให้ผู้ป่วยแยกพักระหว่างส่งเลือดมาตรวจวิเคราะห์ว่าเป็นอีโบลาหรือไม่ ไม่ควรให้อยู่รวมกับผู้ป่วยคนอื่น ๆ " ผศ.ดร.สมชายกล่าวแนะนำ
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

Re: แพทย์ไร้พรมแดนชี้ 'อีโบลา' ระบาดจนอยู่เหนือการควบคุมแล้ว

โพสต์โดย kiatisak » 08 ส.ค. 2014, 09:48

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐประกาศเฝ้าระวังภัยเชื้อไวรัส อีโบล่า ระดับสูงสุด โดยจะมีการเพิ่มกำลังบุคลากรและทรัพยากรเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

วันนี้(7ส.ค.) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือ "CDC" ออกคำเตือนเฝ้าระวังระดับ 1 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดจากทั้งหมด 6 ระดับ ในการรับมือกับวิกฤติเชื้อไวรัสอีโบล่า หลังจากการระบาดขยายไปถึงไนจีเรียและมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศเตือนภัยสูงสุด นับจากการระบาดของไวรัส H1N1 เมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับคำเตือนระดับ 1 หมายถึง จะมีการเพิ่มกำลังบุคลากรและทรัพยากรเพื่อป้องกันการระบาด

http://www.tnews.co.th/html/content/100502/
kiatisak
 
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 13:37

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง คาปูชิโน

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document