หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 28 ส.ค. 2007, 08:47
โดย postkk
(เพิ่มเติม)  เผื่อท่านใดชอบกินมีก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กใส่ลูกชิ้นปลา
ศูนย์วิทย์  อุบล  ได้เวียนหนังสือ ที่สธ 0617/ว.1553 ลว 23 สค. 50 เรื่องลูกชิ้นปลาอินทรีย์(สีส้ม) ผลิตโดย มหาชัย  ตรวจพบ สีย้อมผ้า นอกจากนั้นยังพบสีที่ห้ามใส่ในผลิตภัณฑ์เนื้อด้วย

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 28 ส.ค. 2007, 11:02
โดย nitnit
เภสัชกร เริ่มปรากฎในสื่อแล้วครับ
ขอบคุณมากคับพี่ๆครับ
จากน้องเภสัชชนบทคับ

text

โพสต์โพสต์แล้ว: 28 ส.ค. 2007, 15:56
โดย azzuri
ป๋าช็อตโต้ครับ
พี่วรวิทย์อะ เภสัชกรเด้อ ไม่ใช่เภสัชกรหญิง

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 29 ส.ค. 2007, 08:25
โดย paopong
เป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดเลย ทั้งเรื่องก๋วนเตี๋ยว และ เรื่องเป้าหมายของ อย.  เพราะว่าเมื่อวานไปประชุมร้านคุณภาพ ท่านเลขา อย. ตั้งใจที่จะเชิญนักข่าวมาทำข่าวเรื่อง re-accradit ร้านยาคุณภาพรุ่นที่ 1-2-3 เพื่อให้ทำข่าวนำเสนอเรื่องลงสื่อ แต่ปรากฎว่า นักข่าวรีบมาหาท่านเอง แต่มาถามเรื่องก๋วยเตี๋ยว เรื่องแถลงข่าวร้านยาคุณภาพเลยกลายเป็นประเด็นรอง แล้วก็ไม่ได้แถลงเป็นทางการเลย เพราะนักข่าวจะรีบเอาความเห็นก๋วยเตี๋ยวไปลงแทน ... เฮ้อ

เลยมีคนในที่ประชุมพูดว่า เรื่องลงสื่อเนี่ย  "เรื่องร้ายลงฟรี เรื่องดีลงยาก"

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 30 ส.ค. 2007, 19:19
โดย เภสัชทุง
จริงๆ แล้ว ข้อมูลการศึกษานี้ไม่ใช่ของใหม่  ได้นำเสนอมาตั้งแต่ปี 48 ช่วงประชุม อย.สัญจรภาคอีสานที่ขอนแก่น และประชุมภาคอีสาน ปี 49 และ 50 ล่าสุดที่โคราชและหนองคาย  พี่วรวิทย์ก็นำเสนออย่างนี้ตลอด  หรือ ในการประชุมทำแผนปฏิบัติการปี 50 ที่พัทยา ปีที่แล้ว ผมก็ได้นำเสนอประเด็นปัญหาของภาคอีสานให้ผู้บริหาร อย. ฟังเช่นกันทั้งท่านเลขาคนที่แล้ว (ดร.ภักดี) หรือ ผอ.กองควบคุมอาหาร ซึ่งคิดว่า ทุกท่านน่าจะทราบปัญหาเป็นอย่างดี

แต่ทำไมถึงได้เพิกเฉยกับประเด็นปัญหานี้มากว่า 2 ปี  จนกระทั่งมีสื่อมวลชนมาตีข่าว จากเหตุบังเอิญที่ไปร่วมฟังการประชุมวิชาการประจำปีของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เมืองทองธานี ได้ฟังการนำเสนอผลการศึกษาเรื่องนี้ จึงได้มาสัมภาษณ์พี่วรวิทย์และผู้บริหาร อย. จนเป็นข่าวใหญ่โตดังกล่าว (จึงน่าคิดว่า หากจะให้ อย.มาเล่นเรื่องใดเต็มตัว ต้องทำให้เป็นกระแสที่กระทบต่อสุขภาพประชาชนเหมือนกรณีนี้ ???)

ขอยืนยันว่า ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวยังคงอยู่ ซึ่งปี 49 ผมได้เก็บตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวที่จำหน่ายในจังหวัดส่งตรวจ 4 ตัวอย่าง พบมีการใช้วัตถุกันเสีย คือ กรดเบนโซอิก สูงกว่ามาตรฐานหลายเท่า จำนวน 3 ตัวอย่าง ซึ่งที่ตกมาตรฐานเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวจากแหล่งผลิตนอกจังหวัด ที่อยู่ในภาคอีสานทั้งหมด จึงยืนยันได้ว่า แหล่งผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวที่พบปัญหาไม่ได้มีเฉพาะในเขต 14 เท่านั้น  และผมก็ได้แจ้งให้ สสจ.ที่เป็นแหล่งผลิตได้ทราบแล้ว

ตอนนี้ผมได้แจ้งให้ทุกอำเภอเก็บตัวอย่างแบบปูพรม เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์อีกครั้ง สำหรับแหล่งผลิตในจังหวัด แม้ผลการตรวจล่าสุดได้มาตรฐาน แต่ก็ยังวางใจไม่ได้  จึงได้ขอข้อมูลจากศูนย์วิทย์ฯ อุบลซึ่งกำลังศึกษาวัตถุกันเสียที่มีประสิทธิภาพในการใช้แทน[b]เบนโซเอท ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดีที่ pH ต่ำกว่า 4.5 [b] ขณะที่เส้นก๋วยเตี๋ยวมีค่าเป็นกลาง (จึงน่าเป็นเหตุผลว่า ผู้ผลิตใช้มากกว่ามาตรฐานหลายเท่า อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพที่ต่ำในอาหารที่มีค่าเป็นกลาง)

ตอนนี้คิดว่า โปแตสเซียมซอร์เบท น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะมีประสิทธิภาพที่ pH 6.5 และมีความปลอดภัยสูงกว่าเบนโซเอท อย่างไรก็ตาม โพรพิโอเนท ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมขนมปัง และมีค่าความปลอดภัยสูงมาก จนไม่มีการควบคุมปริมาณการใช้ ก็น่าจะเป็นตัวเลือกอีกตัวครับ ซึ่งคงรอผลการศึกษาของศูนย์วิทย์ฯ อุบล ที่น่าจะเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 31 ส.ค. 2007, 19:40
โดย cm
พอทราบมาว่า ที่ นครปฐม ก็เคยพบสารกันบูดแบบเดียวกันนี้ในเส้นก๋วยเตี๋ยวเหมือนกัน ใน  การวิจัยเรื่องการพัฒนาตลาดทรัพย์สินฯ

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 04 ก.ย. 2007, 21:50
โดย เภสัชทุง
พอดีได้ข้อมูลจากศูนย์วิทย์ฯ อุบลฯ  จึงขอมาเผยแพร่เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังปัญหาครับ

จากข้อมูลของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานีที่ได้เก็บตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวในท้องตลาดในปี 2549 ตรวจวิเคราะห์จำนวน 103 ตัวอย่าง พบว่า มีตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยพบปริมาณสารกันบูด คือ กรดเบนโซอิก เกินมาตรฐาน ที่กำหนดไม่ให้เกิน 1,000 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  จำนวน 43 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.8  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (35 จาก 43 ตัวอย่าง)  ประเภทของเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่พบสารกันบูดหรือพบในเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่  บะหมี่  หมี่ซั่ว  วุ้นเส้น  เส้นเล็กแห้ง  เส้นใหญ่แห้ง  และก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้    ประเภทของเส้นก๋วยเตี๋ยวที่พบสารกันบูดจำนวนมากที่สุด คือ  ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก พบร้อยละ 39.5  โดยบางตัวอย่างพบปริมาณสารกันบูดถึง 17,250 พีพีเอ็ม  รองลงมาได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ (ร้อยละ 27.9)  และ ก๋วยจั๊บเส้นใหญ่ (ร้อยละ 11.6)  ก๋วยจั๊บเส้นเล็ก (ร้อยละ 11.6)  เส้นหมี่ (ร้อยละ 7.0) และบะหมี่โซบะ (ร้อยละ 2.4)   

สำหรับปริมาณกรดเบนโซอิกที่พบในเส้นก๋วยเตี๋ยวแต่ละประเภท มีดังนี้

- ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก  2,825 - 17,250 พีพีเอ็ม
- ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่  2,001 - 4230 พีพีเอ็ม
- ก๋วยจั๊บเส้นใหญ่  2,020 - 7,358 พีพีเอ็ม
- ก๋วยจั๊บเส้นเล็ก  1,079 - 6,305 พีพีเอ็ม
- ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่  3,842 - 7,825 พีพีเอ็ม
- บะหมี่โซบะ 4,563 พีพีเอ็ม

จังหวัดแหล่งผลิตที่ตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวได้มาตรฐาน ได้แก่ จันทบุรี  นครสวรรค์  กรุงเทพฯ  กาญจนบุรี  ปทุมธานี  นครปฐม  ราชบุรี  นครพนม  อุดรธานี  เลย  มุกดาหาร  สุรินทร์

จังหวัดแหล่งผลิตที่ยังพบปัญหาตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่  ร้อยเอ็ด  กาฬสินธุ์  อำนาจเจริญ  ศรีสะเกษ  อุดรธานี  อุบลราชธานี  เลย  บุรีรัมย์  เพชรบูรณ์  สมุทรสาคร  นครปฐม

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 04 ก.ย. 2007, 23:07
โดย เภสัชทุง
[color=blue]ข่าวรอบเมืองเหนือ โดย : สวท.ลำปาง สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3       วันที่ : 3 กันยายน 2550
เวลา : 15:31:46

--------------------------------------------------------------------------------

สารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว เสี่ยงทำตับไตพัง 

จากการนำเสนอผลการวิจัย

Re: ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเสี่ยงตับไตพัง เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อ

โพสต์โพสต์แล้ว: 04 ก.ย. 2007, 23:17
โดย เภสัชทุง
สสจ.นครพนม เผยผลการตรวจวิเคราะห์สารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว ระดมตรวจสอบเข้มทั่วจังหวัด

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนมเผยผลตรวจวิเคราะห์เส้นก๋วยเตี๋ยวในท้องตลาดของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลฯ  ซึ่งพบก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กจากแหล่งผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเสี่ยงมากสุดจากปัญหาสารกันบูดเกินมาตรฐาน ขณะที่เส้นก๋วยเตี๋ยวจากแหล่งผลิตในจังหวัดนครพนมได้มาตรฐาน  จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับปัญหาดังกล่าว  เพราะหน่วยงานสาธารณสุขมีการตรวจสอบดูแลมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอและร่างกายสามารถขับถ่ายสารนี้ได้หมดภายใน 1 วัน

นพ.เด่นชัย  ศรกิจ  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า  จากข้อมูลของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานีที่ได้เก็บตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวในท้องตลาดในปี 2549 ตรวจวิเคราะห์จำนวน 103 ตัวอย่าง พบว่า มีตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยพบปริมาณสารกันบูด คือ กรดเบนโซอิก เกินมาตรฐาน ที่กำหนดไม่ให้เกิน 1,000 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  จำนวน 43 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.8  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ประเภทของเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่พบสารกันบูดหรือพบในเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่  บะหมี่  หมี่ซั่ว  วุ้นเส้น  เส้นเล็กแห้ง  เส้นใหญ่แห้ง  และก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้      ประเภทของเส้นก๋วยเตี๋ยวที่พบสารกันบูดจำนวนมากที่สุด คือ  ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก พบร้อยละ 39.5  โดยบางตัวอย่างพบปริมาณสารกันบูดถึง 17,250 พีพีเอ็ม  รองลงมาได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ (ร้อยละ 27.9)  และ ก๋วยจั๊บเส้นใหญ่ (ร้อยละ 11.6)  ก๋วยจั๊บเส้นเล็ก (ร้อยละ 11.6)  เส้นหมี่ (ร้อยละ 7.0) และบะหมี่โซบะ (ร้อยละ    2.4)    สำหรับเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ผลิตจากจังหวัดนครพนม ผลการตรวจพบว่า ได้มาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวในพื้นที่  ได้สั่งการให้เภสัชกร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกแห่งออกตรวจแนะนำสถานที่ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว และเก็บตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวจากตลาดสด  ร้านอาหารในทุกอำเภอรวม 16  ตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่นแล้ว ซึ่งคาดว่าจะทราบผลการตรวจได้ภายในเดือนกันยายนนี้  อย่างไรก็ตาม  ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับข่าวดังกล่าว  เพราะสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนมได้ตรวจสอบดูแลมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ  และในขนาดรับประทานปกติ  ร่างกายสามารถขับถ่ายสารกันบูดได้หมดภายใน 1 วัน  ซึ่งหากได้รับสารกันบูดเกินปริมาณมาก จะมีอาการท้องเสีย  คลื่นไส้ อาเจียน  ทั้งนี้หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการแจ้งร้องเรียนผลิตภัณฑ์ที่สงสัยในความปลอดภัย  สามารถแจ้งมาได้ที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม  โทร 0-4251-5766 ในวันและเวลาราชการ