New Document









เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 16 ก.พ. 2008, 09:38

อ่านหนังสือพิมพ์วันนี้
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0102
สัญญาณอันตรายสื่อ

บทนำมติชน

เหตุการณ์ที่เกิดกับคลื่นเอฟเอ็ม 105 วิสดอม เรดิโอ ซึ่งเป็นคลื่นในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ มีบริษัทเอกชนเช่าคลื่นดำเนินรายการ โดยผู้จัดรายการคนหนึ่งถูก "ปากที่มองไม่เห็น" โทรศัพท์มาถึงผู้บริหารของบริษัทขอไม่ให้ผู้จัดรายการคนดังกล่าวดำเนินรายการต่อไป เป็นข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะหากขัดขืน หรือมีปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรง แทนที่จะเสียส่วนน้อยเพียงคนเดียว อาจทำให้ส่วนใหญ่คือบริษัทที่ได้เช่าคลื่นต้องมีปัญหา แม้จะจับมือใครไม่ได้ว่า ใครคือผู้อยู่เบื้องหลัง ขณะเดียวกันก็ไม่มีองค์กรใดตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเพื่อประกาศต่อสาธารณชนว่าได้เกิดอะไรขึ้น แต่รัฐบาล "สมัคร 1" ก็ยากที่จะแก้ตัวว่าไม่ได้เข้าไปแทรกแซงเสรีภาพของสื่อมวลชน

สื่อของรัฐกำลังเริ่มต้นถูกจัดระเบียบจากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ว่ารัฐมนตรีคนไหนหรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีจะปฏิเสธว่าไม่จริงก็คงไม่มีใครเชื่อ การกระทำเช่นนี้ถือเป็นความเข้าใจผิดของรัฐบาลที่คิดว่า รัฐบาลเป็นเจ้าของสื่อ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง สื่อที่หน่วยงานรัฐดำเนินการนั้น ใช้คลื่นความถี่วิทยุและคลื่นความถี่โทรทัศน์ซึ่งเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ คำว่า ชาติไม่ใช่รัฐบาล ไม่ใช่นักการเมืองที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐ หลักนี้ปรากฏชัดแจ้งทั้งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ผู้มีหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์คือองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ เมื่อองค์กรนี้ยังไม่เกิดก็ชอบที่คณะรัฐมนตรี "สมัคร 1" และรัฐสภาจะต้องรีบเร่งแก้ไขกฎหมายและผ่านกฎหมายออกมามีผลบังคับใช้โดยเร็วเพื่อให้สื่อของรัฐทั้งวิทยุและโทรทัศน์เป็นสื่อที่ใช้คลื่นความถี่ไปเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยเร็ว.................
.........................

ต่างเรื่อง แต่ไม่ต่างแนวคิดกับกรณีการออกข้อบังคับของสภาฯในปัจจุบัน

นอกจากนั้นแล้วก็ยังพูดแบบเดียวกันเป๊ะเรื่อง มีอะไรก็จะรับผิดชอบ...........

หากพูดทำนองว่าสภาฯได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นองค์กรตัวแทนตามกฎหมาย
การตีความตามกฎหมายแบบนี้คงไม่ผิดเพี้ยนเท่าไร

แต่มันผิดเพี้ยนจากสามัญสำนึกของคนที่คิดเป็น
มันสะท้อนให้เห็นถึงการหาคำอธิบายอะไรไม่ได้อีกแล้ว
มันสะท้อนถึงการเอาสีข้างเข้าถู

เพราะอะไร...

ก็เพราะมีความจริงเป็นเหตุผลเบื้องหลังที่บอกไม่ได้
เหตุผลที่ประกาศต่อสาธารณชนถูกซักถามจนตอบไม่ได้แล้ว เพราะก็ตระหนักอยู่แก่ใจว่าเป็นเหตุผลที่มาตามหลังการตัดสินใจว่าต้องการอะไรไปเรียบร้อยแล้ว


วิชาชีพไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง
วิชาชีพไม่ใช่ของผู้ประกอบวิชาชีพเพียงอย่างเดียว
ผู้ประกอบวิชาชีพก็ไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริง

แล้วใครคือเจ้าของที่แท้จริง...........
ก็ต้องถามว่า ใครเป็นผู้ยอมรับให้มีวิชาชีพล่ะ
ใครมอบความไว้วางใจให้คนกลุ่มหนึ่งมาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ใครมอบความไว้วางใจให้เภสัชกรมาดูแลเค้า
คนคนนั้นล่ะค่ะ ที่เป็นเจ้าของที่แท้จริง
นึกออกแล้วใช่ป่าว
ก็...ประชาชนไงคะ (จอ บอ....จบแล๋ว)
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 16 ก.พ. 2008, 09:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08







Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย coolturtle » 20 ก.พ. 2008, 17:46

เพื่อนร่วมวิชาชีพเภสัชกรรมทุกท่านคะ จะไม่ช่วยกันคิด ช่วยกันทำหรือคะ น่าหดหู่จังเลยนะคะ ทำไมเราจึงยอมรับในสิ่งที่เราไม่ได้เลือกง่ายดายเหลือเกิน เพียงเพราะต่างคนต่างคิดว่าเป้นหน้าที่ของคนอื่นที่ต้องทำงานเหล่านี้ให้เราเท่านั้นหรือเปล่าคะ ทำไมเราอ่อนแอจังเลย..เศร้าใจจริงๆ[/color]
coolturtle
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 16:44

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 20 ก.พ. 2008, 20:20

coolturtle เขียน:เพื่อนร่วมวิชาชีพเภสัชกรรมทุกท่านคะ จะไม่ช่วยกันคิด ช่วยกันทำหรือคะ น่าหดหู่จังเลยนะคะ ทำไมเราจึงยอมรับในสิ่งที่เราไม่ได้เลือกง่ายดายเหลือเกิน เพียงเพราะต่างคนต่างคิดว่าเป้นหน้าที่ของคนอื่นที่ต้องทำงานเหล่านี้ให้เราเท่านั้นหรือเปล่าคะ ทำไมเราอ่อนแอจังเลย..เศร้าใจจริงๆ[/color]


สวัสดีค่ะ
ต่างคนต่างความคิดค่ะ  การตัดสินใจจะทำหรือไม่ทำอะไรแต่ละคนก็มีเหตุผลของตนเอง

ตอนนี้ที่ตัวเองยังคงแสดงความคิดไม่เห็นด้วยกับกระบวนการของสภาฯอยู่
เพราะคิดว่า.............
อีก 20 ปีข้างหน้า เราอาจจะเสียใจในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ
(คุ้นๆไหมคะ อันนี้เป็นข้อความในโฆษณาเหล้าเมื่อหลายปีที่แล้ว ...หุ หุ ไม่ได้ขี้เหล้านะจ๊ะ อ้อ..แล้วนิสัยแบบนี้อาจอยู่ได้ไม่ถึงอีก 20 ปี 555 )

เมื่อคิดว่าได้ทำในสิ่งที่สมควรทำ การเรียนรู้ของตัวเราก็เกิดขึ้น การเรียนรู้ของสังคมก็เกิดขึ้น แต่จะเกิดมากน้อยแค่ไหน หรือไปในทิศทางไหน อาจจะนอกเหนือการควบคุมของเรา

เอ...จะเขียนว่าอย่างไรดีนะ
คือ...
อยากจะบอกว่า อย่าคิดอย่างนั้นเลย.........คิดแล้วทำให้ตัวเองท้อใจเสียป่าวๆ

แฮ่ม...มาเบี่ยงเบนประเด็นกันเล็กน้อยดีกว่าไหม
ใครเอ่ย......ออกข้อบังคับไปเรียบร้อยแล้ว
จากนั้นค่อยมาบอกว่าที่กำลังเดินสายอยู่เนียะ ข้าพเจ้ากำลังทำประชาพิจารณ์นะ ...จาบอกให้ 555
(เดากันเอาเองเด้อ น่าจะไม่ยากนิ)

ด้วยความเคารพที่มีแก่ผู้ร่วมวิชาชีพทุกท่าน
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 20 ก.พ. 2008, 20:39

ขอต่ออีกนิดดดด....

เห็นความตั้งใจดีที่มีอยู่ค่ะ ชื่นชม ชื่นชม

:t_up:
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย coolturtle » 21 ก.พ. 2008, 10:37

ขออภัยค่ะ วัยรุ่นน่ะ เลยใช้อารมณ์มากกว่าสมอง (ความจริงมีบ่อยๆ ว่าสมองไม่ค่อยยอมทำงานน่ะ) คือว่า....เนื่องจากเรื่องการรับรองหลักสูตรของสภาเภสัชกรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางและยาวไกล ทั้งต่อการดำเนินงานของสถาบันผู้ผลิตบัณฑิต ต่อบทบาทและทิศทางของวิชาชีพ(ที่ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ถึงกว่า 2 หมื่นคน) และต่อประชาชนผู้ใช้บริการผลผลิตจากหลักสูตร ดังนั้น ดิฉันจึงคิดว่า....อยากเรียกร้องให้สมาชิกสภาเภสัชกรรมทุกท่านออกมาเรียกร้องการทำประชาพิจารณ์ และการลงประชามติ....ไม่มีอะไรสายเกินแก้หรอกค่ะ วิสัยชาวพุทธ..ตราบใดยังมีลมหายใจ ตราบนั้นก็ยังมีโอกาสบรรลุอรหันต์...(เกี่ยวไหมนี่)..คือ..เมื่อไรที่รู้ว่าผิด ก็ลงมือแก้ไขเมื่อนั้นแหละค่ะ..สมาชิกทุกท่านล้วนอยู่ในสังคมใดสังคมหนึ่ง อยากเรียกร้องให้ท่านช่วยเรียกร้องการทำประชาพิจารณ์ และการลงประชามติเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อให้เสียงนั้นดังขึ้นน่ะค่ะ
coolturtle
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 16:44

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 21 ก.พ. 2008, 21:19

ความเห็นของนักศึกษา post อยู่ใน
http://pharmcom.multiply.com/journal/item/5
นำมาเผยแพร่ค่ะ

ไม่รู้ว่าเรื่องราวที่ผมได้ยินได้ฟังมานั้นจะจริงหรือไม่ เกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรมของเรา ที่แต่เดิมเป็นวิชาชีพเดียวกันกับวิชาชีพแพทย์ มีหน้าที่รักษาคนไข้
ตรวจโรค วินิจฉัยโรค และหายามารักษา โดยที่ตัวของแพทย์คนนั้นก็มีอาชีพประจำไม่แตกต่างจากชาวบ้านทั่วไป ต่อมาเมื่องานด้านกรรักษามีมากขึ้น แพทย์คนนั้น
เลยปรับเปลี่ยนตัวเองเลิกทำงานประจำหันมารักษาคนไข้อย่างเดียว โดยเก็บค่ารักษาเพื่อเลี้ยงชีพ นานวันเข้าก็สะสมความรู้กลายเป็นฐานความรู้ด้านการแพทย์ที่สำคัญ
จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านไป ภาระในการรักษาโรคมีมากขึ้น จนต้องแยกหน้าที่ในการตรวจรักษาโรค กับหน้าที่จัดหายา ปรุงยาออกจากกัน กลายเป็นวิชาชีพ แพทย์ และเภสัชกร

วิชาชีพของเราได้พัฒนาเรื่อยมาครับจนกระทั่งมาถึงทุกวันนี้ ที่ภาระหน้าที่ในการปรุงยาของเราลดลงอย่างเห็นได้ชัดเพราะความเจริญของระบบอุตสาหกรรมและทุนนิยมที่
สามารถผลิตยาที่มีคุณภาพระดับเดียวกันได้ทีละเยอะๆ ในราคาที่ไม่แพงมาก ด้วยเหตุนี้บทบาทในการเป็นผู้ผลิตหรือเตรียมยาจึงน้อยลง เพราะเมื่อมีเครื่องจักรทำงานแทน ก้ต้องการเภสัชกรจำนวนไม่มากไปดูแลเครื่องจักรเหล่านั้น

ดังนั้นวิชาชีพเภสัชกรรมจึงต้องเปิดบทบบาทใหม่โดยการเข้าไปดูแลผู้ป่วยมากขึ้นร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ดีและเชื่อว่าเภสัชกรทั่วโลกคงเห็นด้วย

แต่กับคำถามที่ว่า การที่เราเรียนเภสัช 5 ปี ทำงานด้านบริบาลเภสัชกรรมได้หรือไม่ คำตอบที่เหมาะสมคือได้แน่นอน เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นไม่ได้ขึ้นกับระยะเวลาในการ
ศึกษาในมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว แต่โดยธรรมชาติของมนุษย์เกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และเมื่อคำนึงถึงความแตกต่างของโรงพยาบาลในประเทศไทย จะพบว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีรูปแบบการให้บริการที่ต่างกัน ดังนั้นเมื่อเภสัชกรจบใหม่ออกไปทำงานจริง ย่อมต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งในการปรับตัวและเรียนรู้ในการทำงานให้ได้ดี เหมาะสมกับบทบาทในโรงพยาบาล

และเมื่อมองถึงความเป็นจริง บางครั้งความรู้ในระดับลึกมากที่ เภสัชกรคนนั้นได้เรียนมาในมหาวิทยาลัย เมื่อไปทำงานไม่มีโอกาสได้ใช้ เพราะโรงพยาบาลนั้นไม่มีงบประมาณในการทำ เช่น การเตรียมยา chemotherapy เพื่อรักษาโรคมะเร็ง มีโรงพยาบาลชุมชนกี่แห่งที่มีงบประมาณพร้อมที่จะสนับสนุนงานในส่วนนี้ สิ่งที่ผมยกขึ้นมานี้ไม่ได้ต้องการบอกว่า การสอนลึกๆเป็นสิ่งไม่ดี แต่ผมกำลังจะบอกว่า เวลาที่เอามาเรียนเรื่องที่เขาไม่มีโอกาสได้ใช้เมื่อต้องไปทำงานจริง เป็นเวลาที่สูญเปล่านั้น ถ้าเขาเอาเวลาเหล่านั้นไปทำงานที่เป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆจะส่งผลดีต่อชุมชนที่เขาไปทำงานหรือไม่ การปล่อยเขาไปทำงานด้วยความรู้ที่พอเพียงสำหรับการทำงานจะสร้างประโยชน์มากกว่าการกักตัวไว้เรียนวิชาที่ไม่ได้ใช้หรือไม่

ดังนั้นทำไม หลักสูตรที่เรียนทางเภสัชศาสตร์ จึงไม่ลองคิดถึง การใช้เวลาเรียนให้น้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะทำงานได้ทั่วไป ส่วนความรู้ในระดับที่ลึกลงไปกว่านั้น ให้เป็น special list ที่ให้อิสระเภสัชกรแต่ละคนเลือกเองว่าต้องการไปทำงานแบบไหนและอะไรคือความรู้ที่ต้องการเพิ่มเติม แบบนี้จะช่วยพัฒนาวิชาชีพได้มากกว่าการบังคับให้เรียน 6 ปี เพราะเภสัชกรเองก็มีงานหลายด้านที่สามารถนำความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ไปใช้ได้ เช่นการผลิตยา การบริบาลผู้ป่วย การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ การคุ้มครองผู้บริโภค การวิจัย การสอนหนังสือ

อย่าเอาความคิดที่ว่า สองมาตรฐาน หรืออุดมคติที่ว่า เท่าเทียมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาอ้างเพื่อปรับหลักสูตรเป็น 6 ปีโดยลืมมองความเหมาะสมตามความเป็นจริงของสังคมไทย เพราะอย่างไรเสียที่นี่ก็คือเมืองไทย ประเทศที่สังคมชนบทกับสังคมเมืองมีสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
..............

ตัวหนังสือที่ทำเน้นสีนั้น ทำเองค่ะ คนเขียนเค้าไม่ได้ทำ พอดีอ่านแล้วชอบน่ะค่ะ เลยขอเน้น
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย Epinephrine » 21 ก.พ. 2008, 21:38

wannee เขียน:ดังนั้นทำไม หลักสูตรที่เรียนทางเภสัชศาสตร์ จึงไม่ลองคิดถึง การใช้เวลาเรียนให้น้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะทำงานได้ทั่วไป ส่วนความรู้ในระดับที่ลึกลงไปกว่านั้น ให้เป็น special list ที่ให้อิสระเภสัชกรแต่ละคนเลือกเองว่าต้องการไปทำงานแบบไหนและอะไรคือความรู้ที่ต้องการเพิ่มเติม แบบนี้จะช่วยพัฒนาวิชาชีพได้มากกว่าการบังคับให้เรียน 6 ปี


ผมบอกไปแล้วว่า 4+2 เป็นคำตอบสุดท้ายของผม
ชีวิตสั้นกว่าที่เราคิดไว้เสมอ
-----------------------------------------------
รักษาความเป็นวิชาชีพ
Welcome to Pharmatographer's Site
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Epinephrine
 
โพสต์: 216
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2006, 17:33
ที่อยู่: กรุงเทพ

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 22 ก.พ. 2008, 23:22

ความเห็นของนักศึกษาคนเดิมค่ะ
มีเพิ่มเติม
นำมาจาก
http://pharmcom.multiply.com/journal/item/5

ในห้องแล็บตอกยาเม็ดที่ มข. มีคำขวัญสั้นๆ 2 บรรทัด ที่ไม่มีใครสนใจมันมากนัก
ไม่มีใครรู้ว่ามันถูกติดมานานเท่าไหร่ แต่จากแบบอักษร และวัสดุที่ใช้ทำ
มันน่าจะเก่าแก่กว่ายุคคอมพิวเตอร์ แปลว่า มันเก่าเกินกว่า 10 ปีแน่นอน
หรือบางทีมันอาจจะเก่าแก่ พอๆกับเครื่องตอกอัดยาเม็ดที่ตั้งอยู่ในห้อง
เครื่องตอกอัดยาเม็ดรุ่นที่ใช้แรงคนในการตอก ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่
นักศึกษารุ่นแล้วรุ่นเล่า มาไม่ตำกว่า 20 ปี

คำขวัญเขียนว่า

ยาดี มีฤทธิ์ ผู้ผลิต คือเภสัชกร
ยาเสีย มีพิษ ผู้ผลิต คือฆาตรกร


เภสัชกรมีหน้าที่โดยตรงในการผลิตยาที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องการการดุแลอย่างใกล้ชิด
ตั้งแต่กระบวนการตั้งตำรับ เลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิต บรรจุหีบห่อ ติดฉลาก .....
ทุกขั้นตอนมีการควบคุมคุณภาพอย่างรัดกุมเพื่อให้ได้ยาที่ดี ที่มีฤทธิ์
ซึ่งเป็นงานที่ไม่มีวิชาชีพใดเชี่ยวชาญมากกว่าเภสัชกร

แล้ว ถ้ามองย้อนกลับไปยังกระบวนการผลิต ผู้ผลิตยา
กระบวนการเหล่านี้ก็ต้องการการควบคุมคุณภาพเช่นกัน
ถ้ายามีการตั้งตำรับ                    การผลิตเภสัชกรก็มีการเขียนหลักสูตร
ถ้ามีการตรวจคุณภาพวัตถุดิบ          ก็มีการเลือกคนเก่งๆ(ถ้าดีด้วยยิ่งดี)เข้ามาเรียน
ยาผ่านกระบวนการผลิต                นักศึกษาก็ผ่านการเรียนการฝึกงาน
ยาต้องมีหีบห่อและฉลาก              เภสัชกรก็มีการให้ปริญญาบัตรและใบประกอบวิชาชีพ...

โดยการควบคุมคุณภาพจากอาจารย์ในทุกขั้นตอนที่คอยเคี่ยวเข็ญด้วยความรู้ทางทฤษฏี
ตีก้นด้วยปฏิบัติการ และตรวจสอบมาตรฐานด้วยข้อสอบสุดโหด ที่ทำเอานักศึกษาเตรียมสอบหัวฟู

ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า เภสัชกรทุกคนที่ผ่าน หลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต มีคุณภาพ
คู่ควรที่ประชาชน ผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ จะฝากชีวิตไว้กับ เภสัชกรได้

แต่เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศให้เป็น 6 ปี
โดยนัยว่า เพื่อยกระดับวิชาชีพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
คำถามที่เกิดขึ้นในใจก็คือ แล้วหลักสูตรที่เรียน 5 ปี มันไม่ดีตรงไหน
จนป่านนี้ ผมยังหาคำตอบ ที่ทำให้ผมรู้สึกหมดข้อโต้แย้งไม่เจอ
บางทีผมอาจจะยัง ทบทวนวรรณกรรมไม่มากพอ หรือผมอาจจะโง่ที่คิดไม่ออก
ว่า การเรียน 6 ปี มันจะดีกว่า 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เพราะโดยส่วนตัว ผมไม่เชื่อว่า การเรียนนานขึ้นอีก 1 ปี จะทำให้คนฉลาดขึ้นกว่าเดิมมาก
ในทางตรงข้าม ผมกลับรุ้สึกว่า ยิ่งเรียนนาน ยิ่งขี้เกียจ

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า หยิบใบไม้หนึ่งกำมือ และตรัสถามสาวกว่า
ใบไม้ในมือ กับใบไม้ในป่า อันไหนมันมากกว่ากัน
สาวกทูลตอบว่า ใบไม้ในป่ามากกว่าใบไม่ในมือพระองค์มากมายมหาศาลนัก
พระองค์ยิ้ม และตรัสสอนว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้มากมายเหมือนใบไม้ในป่า
แต่สิ่งที่พระองค์สั่งสอน และทำให้พ้นทุกข์ได้มีแค่ใบไม้ในมือ จงเร่งความเพียรเถิด

ดังนั้น การเอาความรู้ทางด้านเภสัชศาสตร์ กำมือเดียว ท่ามกลาง ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์มากมายมหาศาลไม่รู้จบ
เอามาสอนนักศึกษา ภายในระยะเวลาที่เรียน 5 ปี ให้กลายเป็นเภสัชกรที่ดี เป็นเรื่องที่ทำได้แน่นอน
โดยไม่ต้องรบกวนเวลา ชีวิต ของนักศึกษา

กลับมาสู่เรื่องของตำรับยา ถ้าการเรียน 5 ปี กับ 6 ปี เทียบเป็นตำรับยา
ตำรับ 5 ปี จะเป็นยาเก่า ใช้กันมายาวนาน เป็นยามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว จึงรู้จัก pk pd efficacy
toxicity ADR ดีอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาตำรับบ้าง แต่ ส่วนที่สำคัญๆ ยังคงเดิม

ตำรับ 6 ปีจะเป็นยาใหม่ ที่เพิ่งนำเข้า แม้ว่าจะใช้ได้ดีในต่างประเทศ แต่บางครั้งอาจไม่เหมาะกับคนไทยถ้าเทียบเป็นขั้นตอนการพัฒนายา ผมว่า น่าจะเพิ่งผ่านขั้นตอนการขอทดลองในอาสาสมัครสุขภาพดี
ที่ใช้อาสาสมัครสุขภาพดี จำนวนน้อยในการทดลอง เพื่อ ดู อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ นักศึกษาเภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปีที่เรียนจบแล้วออกมาทำงานจริง ยังมีไม่มาก
(ต้องขออภัยที่ตรงนี้ผมไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่ากี่รุ่น ขออภัยเพื่อนที่เรียนหลักสูตร 6 ปี บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่นเกียรติเพื่อนร่วมวิชาชีพ)

ในขณะที่ยาเก่า (หลักสูตร 5 ปี) ยังใช้ได้ดีอยู่ และเป็นยามาตรฐานที่ทุกคนใช้กัน
ณ วันนี้จึงเร็วเกินไปที่จะประกาศยกเลิกยาเก่า และให้ใช้ยาใหม่(หลักสูตร 6 ปี)ทันที

เพราะราคาที่ต้องจ่าย แพงกว่า ตามธรรมชาติของยาใหม่โดยทั่วไป
หากแต่ควรมีการศึกษาต่อไปสักระยะ เพื่อพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
ที่ทั้งรัฐที่ต้องลงทุน และนักศึกษาเองที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ระหว่างนี้ก็ใช้ควบคู่ไปกับยามาตรฐาน เปน add on therapy ไปพลางๆก่อน

หากพบว่า ในระยะยาวแล้ว การเรียน 6 ปีให้ผลดีกว่าการเรียน 5 ปี อย่างชัดเจนค่อยเปลี่ยนหลักสูตรก็ยังไม่สาย
เพราะคนที่เรียน 5 ปี ก็สามารถเรียนเพิ่มเติม ได้ (ถ้าจำเป็น)

แต่หากพบว่า ในระยะยาวแล้ว การทำงานของเภสัชที่เรียน 5 ปี กับ 6 ปี ไม่มีความแตกต่างกัน
ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง เอาเงินภาษีประชาชนมาละลายน้ำ หรืออย่างน้อยๆ
ก็ประหยัดเงินที่จะนำมาเรียนอีก 1 ปี นำไปใช้เป็นทุนในการดำเนินชีวิตได้อีกประโยชน์อีกมากมาย
และตามสภาพธรรมชาติที่ชีวิตคนเราอยู่ได้ไม่เกิน 100 ปี 1 ปีในชีวิตตรงนั้น นำไปทำอะไรที่มันสร้างสรรค์กว่าติดแหง็กในมหาวิทยาลัยแน่นอน

ขอความกรุณาพิจารณาด้วยครับ
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 23 ก.พ. 2008, 21:29

วันนี้ได้รับ email นักศึกษาส่งบทความมาให้เพิ่มเติม

ลองอ่านดูนะคะ ใครว่าเรียน 5 ปีทำให้นักศึกษาเรียนหนักจนคิดไม่เป็น (อาจจะยกเว้นคนนี้ก็ได้มั้ง)

จาก
http://pharmcom.multiply.com/item/reply ... :journal:6

ตรงข้ามคณะเภสัชศาสตร์ที่ มข. คณะแพทย์กำลังก่อสร้างตึกใหม่สำหรับใช้ในการเรียนการสอน
ทุกเย็นหลังเลิกเรียน ผมจะเห็นกรรมกรก่อสร้างใส่เสื้อยืดสีน้ำเงินของบริษัทรับเหมาก่อสร้างเก่าซอมซ่อ ยืนรอขึ้นรถกลับบ้าน
รถที่ใช้รับส่งกรรมกรเหล่านั้นคือรถกระบะตอนเดียว ที่ให้กรรมกรเหล่านั้นอัดกันในกระบะกลับบ้าน
ผมไม่รู้จักคนเหล่านั้นหรอกครับ ไม่รู้ว่าอะไรที่ทำให้เค้าต้องทำงานเป็นกรรมกร ไม่รู้ว่าเค้าใช้ชีวิตอย่างไรกับรายได้อันน้อยนิดที่ได้รับ
รู้แต่ว่า คนเหล่านั้นคือ มนุษย์ มีเลือดเนื้อมีชีวิต อาจเป็นพ่อของเด็กแรกเกิดสักคนที่ไม่รู้ภาษา ลูกของยายแก่ๆที่อาศัยอยู่ในชนบท

คนเหล่านั้นคือประชาชน เป็นคนที่หวังพึ่งพาเภสัชกรยามเจ็บป่วย เป็นคนเสียภาษีให้รัฐมีงบประมาณในการจัดการศึกษา
และเป็นคนที่ต้องทำงานหนักทุกวันเพื่อสร้างสิ่งก่อสร้าง ให้ปัญญาชนได้ใช้เรียนหนังสือ แลกกับค่าแรงถูกๆ

เมื่อเร็วๆ นี้ผมมีโอกาสได้คุยกับผู้หญิงคนหนึ่งที่พาลูกมาสอบตรงที่คณะ สิ่งที่สะดุดตาที่สุดคือการที่เธอห่อข้าวเหนียวกับกับข้าวมาทาน
เธอเป็นกรรมกรก่อสร้างจากที่ไหนสักแห่งในภาคอิสาน ดินแดนที่กันดาร และยากจนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ
เธอเป็นคนจน แต่อยากให้ลูกได้เรียนหนังสือและมีชีวิตที่ดี
ด้วยระบบ ONET-ANET ที่ทำให้เธอต้องตระเวนพาลูกสาวไปสอบหลายที่
แม้ค่าสมัครสอบจะไม่มาก แต่เมื่อราวกับค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอื่นๆ สำหรับคนที่ระดับรายได้แบบเธอ มันเป็นเงินเก็บที่เธอสะสมมานาน
ผมรู้สึกเห็นใจจนอยากร้องไห้ เมื่อได้ยินเธอบอกว่า เงินเก็บกำลังจะหมดแล้ว ที่นี่คงเป็นที่สุดท้ายที่แม่จะพามาสอบได้ 
ถ้าไม่มีปาติหานราคา 80 บาท ที่จะทำให้เธอกลายเป็นเศรษฐี หรือมีเงินมากพอที่จะพาลูกสาว ไปสอบที่อื่น
ผมต้องรีบอกมาจากตรงนั้นก่อนที่จะรู้สึกรันทดมากกว่านี้
ป่านนี้ไม่รู้เธอกับลูกสาวจะอยู่อย่างไร
แต่ขึ้นชื่อว่า แม่ ย่อมหาสิ่งที่ดีที่สุดที่ตัวเองหาได้เพื่อลูกเสมอ

ผมเป็นรุ่นเกือบสุดท้ายที่ใช้ระบบสอบ Entrance สมัยผมมีสอบ 2 ครั้ง คือตุลาคม กับ มีนาคม
ค่าซื้อระเบียบการและใบสมัคร 150 บาท ค่าสมัครสอบวิชาละ 50 บาท ถ้าอยากเรียนคณะเภสัชศาสตร์ ก็ สอบ 7 วิชา รวม 500 บาท
ถ้าเป็นภาคอิสาน ก็ได้สิทธิ์ลงโควต้า ลงได้ 1 คณะ 1 มหาวิทยาลัย เมื่อยื่นความจำนงแล้ว ก็เอาคะแนนสอบ Ent ตอนตุลา ไปยื่น
ซึ่งระบบตรงนี้นักเรียนไม่ต้องทำอะไร แค่ลงคณะ สอบ แล้วก็รอลุ้น ว่าคะแนนถึงหรือไม่
ถ้ายังไม่ได้คณะเรียน หรือติดโควต้าแล้ว แต่ยังไม่พอใจก็สมัครสอบ มีนาคม จ่ายอีกแค่ 500 ก็ได้ลุ้นอีกรอบ
จากนั้นก็เอาคะแนนไปเลือกคณะในช่วงเดือน เมษายน การ Entrance ที่แท้จริง
ค่าซื้อระเบียบการและใบสมัคร 150 บาท ค่าลงคณะ คณะละ 50 บาท รุ่นผมเลือกได้ 4 ที่ 350 บาท ไปได้ทั่วประเทศ
อยู่เชียงใหม่อยากไปเรียนสงขลา อยู่ยะลาอยากเรียนขอนแก่น ไปได้ทุกที่เมื่อมีคะแนน
1350 บาท มีที่เรียนแน่นอน (ถ้าไม่ประเมินความสามารถตัวเองสูงเกินไป เพราะในคู่มือ จะมีคะแนนสูงต่ำของปีที่แล้วให้ดูทุกคณะ )
แต่ทุกวันนี้ น่าสงสารเด็กรุ่นหลังครับ ไม่มีเงิน ก็ไม่มีโอกาส
ไม่อยากมองโลกในแง่ร้ายว่า การสอบ ONET-ANET เป็นช่องทางทำเงินของบางมหาวิทยาลัย แต่เมืองไทยก็แบบนี้แหละครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ
คนจนเสียโอกาสมากครับ
ถ้าเป็นระบบเก่า 1350 บาท รู้ว่าติดที่ไหน แล้วก็มีเวลาตัดสินใจว่า คุ้มมั้ย ที่จะหาเงินไปเรียน
แต่ระบบใหม่ เสียเงินมากกว่านั้นครับกับค่าใช้จ่ายในการตระเวนสอบ
และกับความจริงที่เจ็บปวดกว่านั้น เมื่อพบว่า คนที่จนกว่า ด้อยโอกาสทางการศึกษากว่า ไม่มีเงินไปเรียนพิเศษ
ร้ายกว่านั้น การเรียนและการเตรียมสอบต้องใช้สมาธิ และกำลังสมอง คนจนบางคน ต้องแบ่งกำลังเหล่านั้น ไปหาเงินช่วยครอบครัว


ย้อนกลับมาที่หญิงคนนั้น และลูกสาว หากสมมติว่าเธอสอบได้คณะเภสัชศาสตร์ เงินที่เธอจะนำมาใช้เป็นทุนการศึกษานั้น เป็นไปได้สูงที่เธอจะต้องกู้มาเรียน
อย่างดีก็อาจเป็นแหล่งเงินกู้เพื่อการศึกษาของรัฐบาลที่คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ถูก แต่ถ้าโชคร้ายเงินที่กู้ได้ไม่พอใช้ หรือเธอกู้จากรัฐไม่ได้
เธออาจต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยโหดกว่ามาก
ตรงนี้ระยะเวลาในการเรียน 5 ปี หรือ 6 ปี มีผลกระทบมากครับ
เมื่อเรียนนานขึ้น ย่อมต้องกู้เงินมากขึ้น และขาดรายได้ที่จะเอาไปใช้หนี้ ผลกระทบ คูณ 2
คนจนเดือดร้อนตามระเบียบ

เข้าใจว่าการยกระดับวิชาชีพ การทำให้วิชาชีพมีมาตรฐานเป็นเรื่องสำคัญ แต่มันน่าจะมีวิธีที่ดีกว่าการเพิ่มระยะเวลาเรียน
ผมเชื่อว่าวิชาชีพเรามีทางออกที่ดีกว่านี้

หรือเป็นความตั้งใจที่จะยกระดับวิชาชีพด้วยวิธีลัดโดยการกีดกันคนจนให้หมดโอกาสใช้วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นเครื่องมือเลื่อนชั้นทางสังคม
ถ้าเป็นแบบนั้น ผมว่ามันน่าจะเร่งให้วิชาชีพของเราตกต่ำลงมากกว่า

ถ้าคุณเคยมีเพื่อนสนิทร่วมคณะ ที่ครอบครัวล้มละลายระหว่างเรียน และต้องยืนมองเพื่อน ขี่รถจักรยานยนต์ เข้าไปรับจ้างเฝ้าร้านยาในเมือง
ต้องอดข้าวบางมื้อเพื่อประหยัดเงิน ต้องขายเลือด(เป็นอาสาสมัครงานวิจัยทดสอบชีวสมมูล) เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเทอม

คุณจะไม่รอช้าที่จะออกมาตั้งคำถามว่า การเรียนเภสัชศาสตร์ 6 ปี ทำให้ชีวิตของประชาชนและเภสัชกรดีขึ้นจริงหรือ

.........................
...................................
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย zartingtong » 24 ก.พ. 2008, 01:21

สรุปว่า คน ง ง ที่คิดว่า Admission ดีหรือเปล่า?
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย Satapat » 24 ก.พ. 2008, 16:45

ตามความคิดของผมนะครับเรื่องเงินเราไม่ควรจะมาพูดถึงเกี่ยวกับหลักสูตร
แต่สิ่งที่เราน่าจะคิดคือหลักสูตรที่ปรับเปลี่ยนจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ และคุณภาพมีอะไรดีขึ้นไหม
ไม่ใช่เป็นแบบ pharm D ที่รู้ๆกันอยู่ว่าหากจะไปเรียนต่อต่างประเทศอย่างอเมริกา ต้องไปเรียนซ้ำอีกรอบ
คนเรียน pharm  D อย่าโกทธ ผมละกัน
สำหรับตัวผมหากพูดถึงเรื่อง Admission ขอตอบแบบเข้าข้างตัวเองว่าไม่ดี เนื่องจากผมจบมาด้วยเกรดที่น้อยมาก555+เกือบไม่ได้เรียนเภสัชแล้ว
ปล.มันเป็นแค่ความคิดของผม
Satapat
 
โพสต์: 96
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2007, 20:31

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 26 ก.พ. 2008, 22:33

นักศึกษาคนเดิมส่งต่อมาค่ะ ลองอ่านดูนะคะ


มีมุขตลกมุขหนึ่งที่เล่าขานมานาน
นักเรียน "ครูครับทำไมผมต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยครับ"
ครู "อ้าวเธอไม่รู้เหรอว่า คณิตศาสตร์น่ะ มันช่วยชีวิตคนได้ตั้งเยอะ"
นักเรียนงงและคิดไปเรื่อยเปื่อยว่า มันเกี่ยวกันยังไงเนี่ย แต่คิดยังไงก็คิดไม่ออก เลยถามอาจารย์อีกครั้ง
นักเรียน "ครูครับ ผมไม่เคยได้ยินสักนิดว่าคณิตศาสตร์มันช่วยชีวิตคนได้"
ครูยิ้ม ก่อนตอบแบบสะใจว่า "ก็มันช่วยกันไม่ให้คนโง่ๆแบบเธอสอบเรียนคณะแพทย์ได้น่ะสิ"

เป็นตลกร้ายครับ ตลกร้ายที่แฝงสาระสำคัญมากๆเอาไว้

เพราะวิชาชีพ แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล ที่ทำงานด้านการแพทย์ เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตของผู้ป่วย
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดคนที่ฉลาดในระดับต้นๆ มาเรียน เพราะคนที่ฉลาด และเก่ง มีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ได้ดีกว่า
ด้วยเหตุนี้วิชาพเหล่านี้จึงดึงดูดให้คนเก่งๆมาเรียน ในสมัยก่อนๆจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อ มีทั้งการให้ทุนเรียน ประกันการมีงานทำ
ผลตอบแทนสูง มีค่าวิชาชีพ มีพ.ร.บ. วิชาชีพรองรับเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และดำรงชีวิตด้วยสถานภาพที่สูงส่ง

นั่นคือสิ่งที่ทำให้วิชาชีพเภสัชกรรมป็นอย่างทุกวันนี้ครับ

แล้วมันเกี่ยวกับการที่ไม่เห็นด้วยที่จะบังคับให้เรียนเภสัช 6 ปีอย่างไร

เกี่ยวกันแน่นอนครับ เพราะถึงแม้ว่าการเรียนการสอนด้านเภสัชศาสตร์จะมุ่งเน้นผลิตเภสัชกรเป็นหลัก แต่เมื่อเภสัชกรเรียนจบ แล้วทำงานไปได้สักระยะ
ก็จะมีการเปลี่ยนไปทำงานในส่วนที่ตัวเองถนัดหรือชอบเป็นการส่วนตัว (เห็นได้ชัดในรุ่นที่เป็นเภสัชกรใช้ทุน)
ดังนั้นเราจึงเห็นเภสัชกรกระจายตัวไปทำงานในด้านต่างๆ นอกจากการทำงานในดรงพยาบาล หรือ โรงงานยา เช่น งานด้านกฎหมาย เศรษฐกิจ การศึกษา
วงการอาหาร เครื่องสำอาง ธุรกิจยา หรือสารพัดวงการที่เภสัชกรอยากทำ ที่แม้ว่ามันจะดูเหมือนไม่เกี่ยวกับวิชาชีพ แต่มันก็สร้างประโยชน์ให้กับวิชาชีพทางอ้อม
เพราะเมื่อมีเภสัชกรไปทำงานด้านต่างๆนั้นอาจมีบางส่วนที่ได้นำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้ หรือต่อให้ไม่ได้นำความรู้ทางเภสัชศาสตร์ไปใช้เลย
แต่ขึ้นชื่อว่าเภสัชกร ย่อมทำงานได้ดีเพราะพื้นฐานเป็นคนมีคุณภาพ  การรู้จักเพื่อนฝูงที่เป็นเภสัชกรจำนวนไม่น้อย ย่อมเป็นเครือข่ายที่เอื้อต่อการทำงาน
ซึ่งเป็นทุนทางสังคมอย่างหนึ่งของวิชาชีพ

ดังนั้น หากมุ่งเน้นการผลิตเภสัชกร 6 ปีเพียงอย่างเดียว ขอบข่ายงานของวิชาชีพโดยรวมย่อมได้รับผลกระทบ เพราะเมื่อต้นทุนการศึกษาสูงขึ้น
คนเก่งๆก็จะคิดมากขึ้นว่าการเรียนเภสัชจะคุ้มหรือไม่ และโอกาสในการที่จะไปทำงานด้านอื่นๆจะลดลงหรือไม่
อาจเป็นการกันคนเก่งๆ ที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้กับวิชาชีพออกไป
เพราะธรรมชาติของคน เมื่อได้ลงทุนไปแล้วย่อมหวังที่จะได้กำไร และกับคำถามที่ว่า แล้วรัฐบาลมีเงินจ้างเภสัชกร 6 ปี กี่ตำแหน่งต่อปี ก็ยังไม่ชัดเจน
การเรียนเภสัชศาสตร์ ที่ต้องใช้กำลังทรัพย์ และกำลังสมองในการเรียน เมื่อเรียนไปแล้วไม่มีอนาคต คนที่ฉลาด ย่อมมองเห็นทางเลือกที่ดีกว่า

บางที ความคิดที่ต้องการให้เภสัชกรมีมาตรฐานเดียวกันนั้น มาตรฐานที่ว่าคืออะไร
มาตรฐานที่ต้องเรียนนานเท่ากันนั้น ดูท่าว่าจะไม่ทำให้วิชาชีพนี้ดีขึ้น นอกจากต้นทุนที่เพิ่ม
มาตรฐานที่อ้างว่าใช้กันในอเมริกา อาจใช้ไม่ได้ในเมืองไทย
มันต้องมีทางออกที่ดีกว่านี้
ถ้ายังดันทุรังที่จะให้เรียน 6 ปีโดยไม่ศึกษา Risk Benefit ให้ดี บางทีวิชาชีพอาจล่มสลายภายใน 10 ปีนี้ก็ได้

ถ้าการเรียนจบทางเภสัชศาสตร์แล้วต้องไปทำงานที่ต่ำกว่าศักดิ์ศรีปริญญาและใบประกอบวิชาชีพโดยไม่สมัครใจ
(เช่นการขายก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ พนักงานส่งของ พนักงานห้างสรรพสินค้า ตลกคาเฟ่)
ศักดิ์ศรีของวิชาชีพจะเหลือแค่ไหน แล้วใครเขาจะอยากมาเรียนกัน
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย API » 26 ก.พ. 2008, 23:57

^
^
^
การเรียน 6 ปี มันโยงไปได้ยังไงกับการขายก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ
.........หรือว่าผมเรียนคณิตศาสตร์มาน้อยไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
API
 
โพสต์: 371
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ธ.ค. 2006, 21:02
ที่อยู่: สวรรค์

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 27 ก.พ. 2008, 00:56

หุ หุ
สงสัยเหมือนกัน... :P
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 02 มี.ค. 2008, 23:56

จาก
http://www.pharmacycouncil.org/html/new ... ews_id=123

สภาเภสัชกรรมได้นำข้อบังคับขึ้นไว้บนเว็บแล้ว
คิดว่าฉบับนี้เป็นฉบับที่ส่งนายกสภาพิเศษเห็นชอบและเตรียมนำออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม

ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือ

วุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก  พ.ศ. ๒๕๕๑


                                     ด้วยเห็นเป็นการสมควรให้มีกระบวนการรับรองปริญญาในวิชาเภสัชศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม  และ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการศึกษาเภสัชศาสตร์    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ (๓) ประกอบกับมาตรา ๒๓ (๔) (ด) แห่ง พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗  คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม ในวาระประชุม  ครั้งที่  ๑๕๑ (๑๐/๒๕๕๐) วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐  และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ ตามมาตรา ๒๗ (๑) จึงออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก  พ.ศ. ๒๕๕๑   ไว้ดังต่อไปนี้

หมวด ๑

บททั่วไป

                          ข้อ ๑      ข้อบังคับนี้เรียกว่า
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 02 มี.ค. 2008, 23:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สายตรงถึงสภาเภสัชกรรม

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document