New Document









เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย nitnit » 20 ม.ค. 2008, 17:11

ผมเองก็พอจะเข้าใจ...ในวิสัยทัศน์..หรือมุมมองของสภาเภสัชกรรม..ว่าทำมัยย..ต้องเรียน..6 ปี..
6 ปี อาจจะมีนัยสำคัญ..ในการประกอบวิชาชีพในภาครัฐ...แต่ขณะเดียวกัน..นัยสำคัญภาคเอกชน..เราก็ต้องมองด้วยเหมือนกานน...
อันนี้ผมคงไม่แสดงความคิดเห็นมากนัก....เพราะอาจเปนกลยุทธ์..ที่กรรมการสภาไม่ต้องการเปิดเผย.....แต่ก็มีเจตนาที่ดีต่อวิชาชีพเช่นกานน...
อย่างไรเสียย...ขณะนี้เภสัชกรในหลายภาคส่วน..เริ่มออกมาเคลื่อนไหวมากขึ้น...และดูแนวโน้มเสียงจะคัดค้านมากขึ้น...เสียแล้วว..
และที่คัดค้านมันคงจะไม่ใช่ว่า...เป็น.6 ปีไม่ได้....แต่เกิดจากเภสัชกรส่วนใหญ่เริ่มไม่แน่ใจในแนวทางการทำงานของสภาชุดนี้..
จึงคัดค้าน..และอยากให้กรรมการสภาชุดนี้ยุติเพื่อชี้แจง...ด้วยเหตุผล..ที่ชัดเจน...มากขึ้นน...แต่ขอร้องนะว่า...ถ้าชี้แจง..กรุณาอย่าชี้แจงเหมือนนายกสภาเภสัชก่อนหน้านี้
เพราะนอกจาก..จะไม่สมเหตุสมผลแล้วว....ยังสร้างความหวาดระแวงให้แก่เภสัชกรส่วนใหญ่อีกด้วย....(บทบาทเรื่องพรบ.ยาก่อนหน้านี้...ก็ทำให้สมาชิกหวาดระแวงเพียงพอแล้วว)

อีกสาเหตุหนึ่งมาจากการที่สภาเภสัชกรรมชุดนี้..ไม่ค่อยมีการสื่อสารที่ชัดเจน.แก่สมาชิก..ไม่ชี้แจง...ไม่รับฟังเหตุผลจากบุคคลรอบด้าน....
ถึงแม้จะมีเจตนาดี...แต่กลยุทธ์...ที่ใช้อยู่...จะใช้ไม่ได้...เพราะเภสัชกร..คือปัญญาชน..ที่มีไอคิว..ระดับสูง...พอสมควร..
.....ถึงแม้จะมีเจตนาที่ดีที่คิดในใจ..อยู่ลึกๆแต่ก็ควรฟังเสียงเภสัชกรที่ออกมาคัดค้าน..อยู่ตอนนี้ด้วย...และทำความเข้าใจ..อย่างมีปัญญา..ช้าสักนิดจะเป็นไรปายย....
เภสัชพิจารณ์..อาจจำเป็นต้องทำ..ถ้าข้อไหน.สมาชิกมะเห็นด้วย...ก็ทำความเข้าใจ...แล้วเสนอใหม่..ก็ได้..เภสัชกร...ไม่ได้โง่นะ..
....วิชาชีพเภสัชกรรมไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง..หรือกลุ่มบุคลใดบุคลหนึ่ง....เราควรจะปกครองแบบประชาธิปไตย..มากกว่านี้...เพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างสภาเภสัชกรรม..และสมาชิก..
แก้ไขล่าสุดโดย nitnit เมื่อ 21 ม.ค. 2008, 09:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
nitnit
 
โพสต์: 116
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2007, 11:44







Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย pharjung » 20 ม.ค. 2008, 17:56

เรื่องแบบนี้มันสมควรที่จะต้องถามสมาชิกทุกคนอยู่แล้ว (เภสัชกรทุกคน) ไม่ใช่ทำแบบเงียบๆ

รู้สึกดีใจมากๆๆ ทีมีพี่ๆเภสัชกรที่ออกมาเคลื่อนไหว ตอนแรกน้องนึกว่าจะกลายเป็นเงียบเชียบ....ไป
มีความคืบหน้าอย่างไร น้องขอความกรุณาพี่ๆที่ทราบเรื่องราว...มาบอกเล่าต่อด้วยนะคะ ถ้ามีอะไรที่อาจต้องขอเสียง
หรือจะให้บอกต่อๆ  พี่ๆอย่าลืมแจ้งด้วยนะคะ น้องจะได้ทำการกระจายข่าว.....
ความรักจะยังคงเป็นสิ่งที่สวยงาม หล่อเลี้ยงหัวใจให้เต็มเปี่ยมด้วยความสุข ตราบเท่าที่เราไม่คิดพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงและครอบครองมัน!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
pharjung
 
โพสต์: 125
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2006, 10:19
ที่อยู่: ปทุมธานี

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย Jphar » 22 ม.ค. 2008, 10:16

"น้องก็ไม่รู้เหมือนกัน...แต่อาจารย์ท่านคงจะกลับมาเพื่อทำในสิ่งที่....
อาจารย์ท่านได้ตั้งใจจะทำตั้งแต่สมัยที่แล้วให้สำเร็จอย่างที่มุ่งหมายเอาไว้"

คำนี้ของคุณ pharjung ชัดเป๊ะ !!!!
Jphar
 
โพสต์: 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.ค. 2007, 11:43

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 04 ก.พ. 2008, 12:46

แจ้งข่าวค่ะ

นายกสภาเภสัชกรรมจะมาพูดที่คณะเภสัชฯ มข. วันที่13 กพ.นี้ เรื่อง 6 ปี

ท่านใดสนใจ ขอเชิญล่วงหน้าเลยค่ะ
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย zartingtong » 04 ก.พ. 2008, 14:21

อัดเสียงไว้บ้าง
:lol: :lol:
รูปภาพ
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
zartingtong
 
โพสต์: 1260
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2006, 19:14

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย coolturtle » 07 ก.พ. 2008, 16:23

คัดลอกบทความของอาจารย์วงศ์วิวัฒน์ มาเผยแพร่ แต่มีความสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้จำกัด จึงทำรูปแบบได้เท่าที่ท่านเห็น ลองอ่านดูนะคะ
©วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล ๒๕๕๑ หน้าที่ 1 ของทั้งหมด 9 หน้า
ความเปลี่ยนแปลงทางเภสัชศาสตร์ศึกษา
กับอนาคตเภสัชกรรมไทย:

ความห่วงใยที่ต้องทบทวนอย่างรอบคอบ ต่อข้อบังคับฯ ให้เพิ่มระยะเวลา
การศึกษาระดับปริญญาตรีทางเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย
โดย วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล*
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คงไม่มียุคสมัยใดที่วงการเภสัชศาสตร์ศึกษา และเภสัชกรรมของประเทศไทย จะมีโอกาสเผชิญความท้าทาย
แห่งการเปลี่ยนแปลงมากเท่ากับในยุคปัจจุบัน นับแต่การเปลี่ยนแปลงระดับกว้างจนถึงระดับท้องถิ่น เช่น
coolturtle
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 16:44

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย coolturtle » 07 ก.พ. 2008, 16:26

3. ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิตต้องการบัณฑิตที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อพิจารณา : เหตุผลที่อ้างในข้อนี้หากพิจารณาอย่างผิวเผินคงไม่มีใครแย้งได้ และที่จริงแล้วผู้ประกอบการ ผู้ใช้
บัณฑิตทุกวิชาชีพคงต้องการเหมือนกัน เพียงแต่การใช้ตรรกะน่าจะผิดพลาด เพราะหากเราสามารถขยายเวลา
การศึกษาในหลักสูตรให้นานขึ้นแล้วสามารถผลิตบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น วิชาชีพอื่นๆ เช่น วิศวกรก็
ควรเรียนเพิ่มเป็น 5 ปี สถาปนิกก็ต้องเพิ่มเป็น 6 ปี หรือทันตแพทย์ก็ต้องเพิ่มเป็น 7 ปี เพราะศาสตร์ในทุกแขนง
ล้วนมีการขยายตัวด้านองค์ความรู้ เทคนิควิชาการอย่างมากมายในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
นอกจากนี้หากสภาฯ เห็นว่าเหตุผลนี้เป็นเรื่องเฉพาะของเภสัชศาสตร์ศึกษาและวงการเภสัชกรรมไทย
เท่านั้น (วิชาชีพอื่นไม่เกี่ยว) ก็ควรมีข้อพิสูจน์โดยหลักฐานว่าเภสัชกรที่จบจากหลักสูตรแบบ 6 ปีมีความสามารถ
ที่สูงกว่าแบบ 5 ปีอย่างชัดเจน และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน หรือมีความขาดแคลนมากจนต้องบังคับให้
เปลี่ยนเป็นการผลิตแบบนี้ทั้งหมด เรื่องนี้ยังคงมีข้อถกเถียงได้อีกมาก แต่หากลองสมมติว่าผลสอบใบประกอบ
วิชาชีพโดยสภาเภสัชกรรมพอเป็นตัวชี้วัดคุณภาพบัณฑิตได้ เนื่องจากปัจจุบันนักศึกษาเภสัชศาสตร์ทุกสถาบัน
ต้องสอบให้ผ่านก่อนได้รับใบประกอบวิชาชีพก็จะพบว่า การเรียนแบบ 6 หรือ 5 ปี ไม่ได้สัมพันธ์กับ
ประสิทธิผล หรือความสำเร็จในการสอบผ่านเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น ในปี 2548 นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งมีแต่หลักสูตร 5 ปี สอบผ่านในการสอบครั้งแรกได้ 87.2% มากกว่ามหาวิทยาลัยนเรศวร (49.2%) และ
มหาสารคาม (82.9%) ซึ่งทั้งสองแห่งนี้มีแต่หลักสูตร 6 ปีเท่านั้น หรือนักศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(90.4%) เชียงใหม่ (91.4%) สงขลานครินทร์ (84.2%) ซึ่งใช้หลักสูตร 5 ปี เป็นส่วนใหญ่ก็มีร้อยละของการสอบ
ผ่านครั้งแรกสูงกว่ามหาวิทยาลัยที่ใช้แต่หลักสูตร Pharm. D. เช่นเดียวกัน ทั้งๆที่ข้อสอบของสภาฯมีแนวโน้มที่
ให้น้ำหนักกับข้อสอบด้านคลินิกซึ่งเอื้อต่อนักศึกษาหลักสูตร 6 ปี มากกว่า ดังนั้นตรรกะที่ว่าหากเปลี่ยนเป็นแบบ
©วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล ๒๕๕๑ หน้าที่ 4 ของทั้งหมด 9 หน้า
หลักสูตรแบบ 6 ปี ทั้งหมดแล้วจะทำให้การผลิตบัณฑิตเภสัชศาสตร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงไม่จริง เพราะยังมี
ปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญกว่าอีกมากที่ส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิต
4. ได้มีการศึกษาแนวโน้มการศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยมามากแล้ว และสภาฯ เคยมีมติ
จะให้การรับรองเฉพาะ 6 ปี มาตั้งแต่ปี 2549
ข้อพิจารณา : การอ้างข้อมูลเก่าเป็นกลวิธีหนึ่งที่ใช้กันมากในหลายวงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้อ้าง แต่
สัจจะที่อยู่เหนือกาลเวลาใดๆ ที่เราคุ้นเคยดีก็คือ ความเป็นอนิจจัง หรือสรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก
แนวโน้มการศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยที่สภาฯ กล่าวอ้างไม่ระบุชัดว่าเป็นผลงานของใคร เมื่อทดลอง
สืบค้นดูจากแหล่งเอกสารสาธารณะเท่าที่พอประมวลได้ ที่อาจพอจะเกี่ยวข้อง เช่นงานวิจัยด้านกำลังคนและ
ความต้องการเภสัชกรของประเทศในอนาคต เช่นงานของ Payanantana et al. (1998) และเอกสารการ
ประชุมสมัชาเภสัชกรรมแห่งชาติครั้งที่ 3 ของ สมพล ประคองพันธ์ และคณะ (2549) เป็นต้น แต่เมื่อศึกษา
รายละเอียดของเอกสารเหล่านี้แล้ว จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่ค่อนข้างเก่า แม้ในเอกสารของการประชุม
สมัชชาฯ ปี 2549 ก็ใช้ข้อมูลจำนวนเภสัชกรปฐมภูมิของปี 2544-2545 นอกจากนี้ยังไม่พบเอกสารรายงานวิจัยที่
ชัดเจนฉบับใดเลยที่ระบุว่า ประเทศไทยควรมีแต่หลักสูตรเภสัชศาสตร์ศึกษาในแบบ 6 ปีเท่านั้น ดังนั้นข้ออ้างนี้
จึงค่อนข้างคลุมเคลือมาก นอกจากนี้พึงตระหนักด้วยว่าการออกมติขององค์ใดๆ ที่ขัดกับสภาวะวิสัย และไม่ชอบ
ธรรมย่อมส่งผลให้ไม่มีการปฏิบัติตาม
5. คณะเภสัชศาสตร์ส่วนใหญ่พร้อมแล้วที่จะมีหลักสูตร 6 ปี
6. ประกาศข้อบังคับนี้ให้เวลาล่วงหน้านานพอควร ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเตรียมความ
พร้อมแต่อย่างใด
ข้อพิจารณา : ทั้งสองข้ออ้างนี้เป็นการเหมารวมที่คล้ายกัน จึงขอวิเคราะห์ไปพร้อมกัน ข้ออ้างที่ว่าคณะฯ ส่วน
ใหญ่พร้อมที่จะมีหลักสูตร 6 ปีพอยอมรับได้ เนื่องจากในปี 2549 ประเทศไทยมีคณะฯ ที่เปิดสอนหลักสูตรแบบ
นี้จำนวน 8 แห่งจากทั้งหมด 13 แห่ง แต่การเปิดสอนหลักสูตร 6 ปี อาจไม่ได้แปลว่าคณะฯ ส่วนใหญ่ต้องการ
ยกเลิกหลักสูตร 5 ปี ดังนั้นการออกข้อบังคับของสภาฯ อย่างเร่งรีบโดยข้ออ้างนี้จึงเป็นการใช้ตรรกะที่ไม่ถูกต้อง
ยิ่งการอ้างว่าให้เวลาล่วงหน้านานพอควรถึง ปี 2557 ยิ่งเป็นการอำพรางข้อเท็จจริงที่ว่าทุกหลักสูตรต้องเริ่มตั้งแต่
ปี 2552 เพื่อให้บัณฑิตที่จบในอีก 6 ปีต่อไปมีสิทธิ์ตามข้อบังคับนี้ หรือมีเวลาเตรียมความพร้อมเพียงไม่ถึง 1-2 ปี
เท่านั้น ดังนั้นคำว่านานพอควรจึงไม่น่าจะใช่เพราะการจัดการศึกษาที่ดีจำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า อย่าง
มีคุณภาพ และใช้เวลามากกว่านี้
7. สภาเภสัชกรรมไม่สามารถยอมให้วิชาชีพมีสองมาตรฐาน
ข้อพิจารณา : เป็นข้ออ้างสุดท้ายที่ฟังดูเที่ยงธรรมดีมาก แต่ความเป็นจริงที่สำคัญมากกว่าและควรทบทวนเป็น
อย่างยิ่งก็คือ ใครคือผู้ตัดสินว่ามาตรฐานใดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มาตรฐานที่ถูกต้องต้องมีเพียงอย่างเดียวใช่หรือไม่
รวมไปถึงการพิจารณาว่ามาตรฐานนี้รับใช้ใคร ศาสนาพุทธมีนิกายมหายาน และหินยาน แปลว่าศาสนาพุทธมี
สองมาตรฐานใช่หรือไม่ เกณฑ์คุณภาพมีทั้งแบบ TQM, ISO, GMP เหล่านี้แปลว่าคุณภาพมีหลายมาตรฐานใช่
หรือไม่ พูดไปพูดมาเราย่อมเห็นได้ว่าผู้ที่พยายามขายความคิดหรือความเชื่อที่ว่าสรรพสิ่งมีมาตรฐานเดียว
ค่อนข้างจะคับแคบและอาจไม่สอดคล้องกับภาวะวิสัยภายนอก โดยเฉพาะยุคปัจจุบันที่โลกมีการเปลี่ยนแปลง
©วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล ๒๕๕๑ หน้าที่ 5 ของทั้งหมด 9 หน้า
อย่างรวดเร็ว หลักสูตรที่มีระยะเวลาการศึกษานาน อาจเสียเปรียบหลักสูตรที่มีรอบการศึกษาสั้น เพราะต้องใช้
เวลาในการปรับตัวที่นานกว่า
โดยสรุปในขั้นนี้ เมื่อพิจารณาตามที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า การออกข้อบังคับของสภาฯ ในครั้งนี้เป็น
การกระทำที่สุ่มเสี่ยง รวบรัด เหตุผลที่ใช้อ้างเพื่อสนับสนุนหลายข้อยังคลาดเคลื่อน และไม่เป็นที่ยอมรับ บาง
ประเด็นยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ หรือไม่ถูกต้อง ดังนั้นถ้าวิเคราะห์แบบคนคิดมาก อาจมีข้อสงสัยว่าการผลักดัน
ข้อบังคับฯนี้ ยังอาจมีเหตุผลซ่อนเร้นอื่นๆ แต่ผู้เขียนขอสงวนที่จะไม่วิจารณ์ในที่นี้ เพราะจะเป็นการคาดเดาและ
นำไปสู่ความสับสนโดยใช่เหตุ อย่างไรก็ตามในฐานะที่สภาเภสัชกรรมเป็นองค์กรทางวิชาชีพการกระทำใดๆ ที่
ส่งผลได้ผลเสียต่อระบบสาธารณสุขและวงการเภสัชกรรมในวงกว้างเช่นนี้พึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง
ถูกต้อง สง่างาม มิเช่นนั้นก็รังแต่จะก่อข้อครหา และนำไปสู่ภาวะขาดความไว้วางใจ ขาดศรัทธา และไม่อาจ
เชื่อมร้อยพลังที่แท้จริงของเภสัชกรทั้งประเทศได้ในที่สุด
ผลกระทบที่จะเกิดจากการใช้ข้อบังคับฯ
สำหรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง ขอนำเสนอเพื่อเป็นการเปิดโลกทรรศน์ในเรื่องนี้ให้กว้างและคิดอย่าง
เชิงระบบ (system thinking) ให้รอบด้านมากขึ้น เพราะวิชาชีพเภสัชกรรมไม่ได้ดำรงอยู่ได้โดยลำพัง หาก
จำเป็นต้องพึ่งพิงและมีปฏิสัมพันธ์ต่อระบบสาธารณสุข สังคม และประชาชนอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญพึงตระหนัก
ว่าเภสัชศาสตร์ศึกษาเปรียบเสมือนต้นธารของวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศ ดังเช่นการกลัดกระดุมเสื้อ ถ้าเม็ด
แรกผิด ก็เป็นไปไม่ได้ที่เม็ดต่อๆ ไปจะสามารถติดให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ เพื่อความสะดวก ขอนำเสนอ
ผลกระทบบางด้านที่ตรงข้ามกับข้อสนับสนุนที่สภาฯ ที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงตามข้อบังคับฯ
นี้ ดังต่อไปนี้
ที่มา: WHO
coolturtle
 
โพสต์: 58
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2008, 16:44

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 08 ก.พ. 2008, 21:27

adRIAmYCin เขียน:ผมเอาไฟล์ต้นฉบับมาโพสให้เลยนะครับอาจารย์


ขอบคุณมากค่ะที่เอามาโพสให้ เผื่อจะได้ส่งต่อกันได้ง่ายขึ้น  :lol:
วันที่ 13 นี้ อาจารย์ภาวิชจะมาพูดที่คณะเภสัชฯ มข. ช่วง 9 - 10 น. หลังจากนั้นเป็นการซักถามและอภิปรายประมาณ 1 ชม. ช่วง 11 - 12 จะเป็นอาจารสุมนต์ (ท่านอธิการบดี) ยังไม่เห็นหัวข้อว่าอาจารย์สุมนต์พูดเรื่องอะไร

หากสนใจขอเชิญนะคะ

หรือจะฝากความเห็นมาก็ยินดีค่ะ
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 10 ก.พ. 2008, 22:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 11 ก.พ. 2008, 10:56

ขออณุญาตนำข้อความที่ศิษย์เก่าส่งมา มาปะไว้ที่นี่นะคะ เป็นการแลกเปลี่ยน

.......................
..................................
จากที่ผมอ่านดูแล้วขอแสดงความเห็น ดังนี้ครับ ( ผมไม่ได้เรียบเรียง
คิดอะไรออก ก็เขียนเลย อาจจะอ่านยากหน่อย ต้องขออภัยด้วยครับ )

1. สำหรับข้อดีที่อ้างว่า ลดภาระของผู้เรียน ซึ่งถ้าเป็นภาระจริงๆ
ก็คงมีคนมาโวยวาย ตั้งแต่ 20 ปีก่อน แล้ว

2.และการอ้างว่า เรียน 6 ปี แล้วจะเป็นการสอดคล้องกับระบบสากล ผมขอเปรียบได้
กับการไปเรียนวิธีปลูกพืชที่เมืองหนาว
แล้วรีบเอาวิธีนั้นมาปลูกพืชในบ้านเรา อาจารย์คิดว่าพืชนั้นจะเติบโต
ออกมาแบบไหน

นั่นคือ การเรียนแบบสากล จำเป็นมากขนาดนั้นเหรอ ?? ==> ผมมีความรู้น้อย
จึงไม่ทราบว่า ทำไมต้องทำตามสากลทุกอย่าง สิ่งไหนดีควรรับไว้
สิ่งไหนไม่ดีควรปรับปรุงให้ดี มากกว่าจะคิดว่าทำตามสากลแล้วจะดี

3.การเรียนในปีที่ 6 นั้นเราจะสร้างให้เภสัช มีความรู้มากขึ้น
ผมมองว่าจริง แต่ขอให้โปรดใช้วิจารณญาน ในการออกหลักสูตรให้มากขึ้นด้วย
เพราะ

เรียนมาก รู้มาก แต่ใช้ไม่เป็น ไม่เกิดประโยชน์
มีแต่เสียเวลาทั้งอาจารย์และนักศึกษาเภสัช

ภาระจริงๆ คือ ส่วนมากเรียน เพื่อให้ได้ปริญญาเภสัช
ความหมาย คือ ไม่ได้เรียนเพื่อให้เป็นเภสัช ( เป็นเรื่องที่ควรแก้มากกว่า
จะขยายเวลาเรียน

เพราะส่วนมากยังต้องการปริญญา มากกว่าความเป็นเภสัช =>
ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ผมก็อยู่ในวงจรของการเรียนเพื่อปริญญา
แต่เมื่อมาทำงานจึงได้ทราบว่าการ
สอนของอาจารย์ มีค่ามากกว่า การสอบผ่าน
การสอนนั้นเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตหลังเรียนจบเป็นอย่างมาก


*** 4.จากที่อ่านมาทั้งหมด ผมยังไม่เห็นว่า การเรียน 6ปี จะบอกได้ว่า
เภสัชรุ่นใหม่จะเก่งขึ้น  ในด้านไหน นอกจากคลีนิค ข้อดีของการเรียน 6ปี
ที่ผมพอจะเข้าใจ คือ การฝึกงานที่ยาวนานขึ้น (แต่หวังว่าการฝึกงาน
จะสร้างความรู้ให้กับนักศึกษาได้มาก  )

นักศึกษาเภสัช เมื่อเรียนถึง ปี 3ควรจะเห็นงานในทุกแขนงของเภสัช ( รวมถึงงานการ
เป็นอาจารย์ที่จะสร้างเภสัชรุ่นถัดไป ) เพื่อที่จะได้รู้ว่า
เค้าจะใช้ชีวิตยังไงต่อไป จะเรียนอีก 2 ปี เพื่อเป็นเภสัชแบบไหน
ที่จะช่วยเติมเต็มให้กับสังคม


หลักสูตร 6 ปี นี่ใครเป็นคนคิดครับ สภาคิดคนเดียวรึเปล่า??
ถ้าหากความคิดนี้เกิดจาก สภา คณาจารย์ เหล่านักศึกษา ผู้ประกอบการ
บริษัทยา ผ.อ.โรงพยาบาล ผู้ทรงคุณวุฒิ นักเศรษฐาตน์ ซึ่งถ้ามาจากหลายๆ
ความคิด ผมคิดว่าจะดีกว่าให้ใครคิดคนเดียวครับ

ในอนาคต เราต้องการให้ลูกๆ ของเราเป็นเภสัช แบบไหน ??
เภสัชเราต้องกล้าคิด กล้าที่จะทำ
กล้าที่จะแย้งถ้ามีอะไรที่ไม่เหมาะสม(โดยมีเหตุผล)  ==> พบน้อย
ผมเองก็ยังไม่ถึงระดับนี้

หากการเรียน 6 ปี สามารถทำให้เกิดนักศึกษาที่เรียน เพื่อเป็นเภสัชได้มากขึ้น ผมขอ
สนับสนุนเต็มตัว
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย ruralphar » 11 ก.พ. 2008, 12:44

ต้านกันจัง
ruralphar
 
โพสต์: 146
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2007, 09:45

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 12 ก.พ. 2008, 00:31

ค่าใช้จ่ายจริงต่อหัวนิสิตคณะเภสัชฯ ม.น. ปีงบประมาณ 2548 มีมูลค่า 141,867.59 บาทต่อคนต่อปี
http://www.pha.nu.ac.th/fileplan_qa/costperhead.pdf

ที่ ม.น. เป็นหลักสูตร 6 ปี ถ้าเรายึดตัวเลขนี้เป็นฐานในการคำนวณ ซึ่งแน่นอนว่าจริงๆแล้วตัวเลขจะไม่เท่ากันในทุกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเก่าจะยิ่งมีตัวเลขสูง เนื่องจากมีบุคลากรอาวุโสมาก (เงินเดือนสูง) และยังอาจจะมีจำนวนบุคลากรที่มากกว่าด้วย ดังนั้น แนวโน้มส่วนใหญ่น่าจะมีตัวเลขสูงกว่านี้ เพราะ ม.น.เป็นมหาวิทยาลัยที่อายุยังน้อย (เอ๊าะๆ)

ไม่มีการศึกษาที่แสดงตัวเลขค่าใช้จ่ายต่อหัวจากคณะเภสัชฯในมหาวิทยาลัยอื่น แต่ถ้าจะประมาณขั้นต่ำแล้วเฉลี่ย ก็จะขอลองเฉลี่ยตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 160,000 ต่อคนต่อปี สำหรับคณะเภสัชฯสังกัดรัฐทั่วประเทศ

ทีนี้มาดูว่า การเรียนเพิ่มอีก 1 ปี ค่าใช้จ่ายตรงนี้จะเพิ่มเป็นเท่าไรต่อปี ถ้าประมาณว่ามีนักศึกษาเภสัชฯทั่วประเทศต่อปี (เฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐ) 1,500 คนต่อปี เอาตัวเลขสองตัวนี้คูณกันนะ จะได้ 240 ล้านบาทต่อปี

จากรายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการจัดระบบงบประมาณและการลงทุนเพื่ออุดมศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ปี 2546 ได้ระบุไว้ว่า ในปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลอุดหนุนอุดมศึกษาถึงร้อยละ 75 ของต้นทุนผลิต นั่นหมายถึงว่านักศึกษาจ่ายเองเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น

ถ้าเอาตัวเลข 240 ล้านมาคิด และใช้สัดส่วนการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐในปีงบประมาณ 2545 มาคิดด้วย จะพบว่า ใน 1 ปีที่จัดการศึกษาเพิ่มขั้นนั้น นักศึกษาต้องจ่ายเงินเพิ่ม 60 ล้านบาทต่อปี ตรงนี้แน่นอนเป็นภาระของครอบครัว ซึ่งยังไม่ได้คิดเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องใช้ในการเรียน ส่วนที่เหลืออีก 180 ล้านบาทเป็นส่วนที่รัฐจ่ายผ่านงบประมาณมาให้มหาวิทยาลัย

ถ้าเอาตัวเลขที่ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อเดือนของนักศึกษา 1 คนเท่ากับ 5,000 บาท ดังนั้น ต่อปีแล้วจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเท่ากับ 60,000 บาทต่อนักศึกษา 1 คน ค่าเสียโอกาสจากการออกไปทำงานที่ประมาณการรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อหัวเท่ากับ 15,000 บาท เท่ากับ 180,000 ปีต่อคน จากจำนวนนักศึกษาประมาณ 1,500 คนต่อปี

รวมตัวเลขแล้วจะได้ดังนี้
ค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับนักศึกษาเภสัชทั่วประเทศต่อปี คือ 240 ล้านบาท
ค่าใช้จ่าต่อเดือนสำหรับนักศึกษาเภสัชทั่วประเทศใน 1 ปี คือ 60,000 * 1,500 คน = 90 ล้านบาท
ค่าเสียโอกาสในการได้รับกรายได้จากการทำงานของนักศึกษาเภสัชทั่วประเทศต่อปี คือ 180,000 *1,500 คน = 270 ล้านบาท

รวม 3 รายการนี้มีมูลค่า 600 ล้านบาทต่อปี
เอ้อ...เลขสวย
อันนี้ปีเดียวเท่านั้นนะ

แค่นี้ก่อนนะ มีเวลาจะมาต่อ
แก้ไขล่าสุดโดย wannee เมื่อ 12 ก.พ. 2008, 00:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย nhum_nop » 12 ก.พ. 2008, 01:22

คิดถึงตอนสมัย ดร ตั๋ว ลพานุกรม เปลี่ยนหลักสูตรเภสัช 3 ปีมาเป็น 4 ปี (2482) และ 5 ปี (2485)
Real success is to make others successful !
ภาพประจำตัวสมาชิก
nhum_nop
Global Moderator
 
โพสต์: 26
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2004, 21:30
ที่อยู่: Bangkok, Thailand

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย kohboy » 12 ก.พ. 2008, 08:42

wannee เขียน:ค่าใช้จ่ายจริงต่อหัวนิสิตคณะเภสัชฯ ม.น. ปีงบประมาณ 2548 มีมูลค่า 141,867.59 บาทต่อคนต่อปี
http://www.pha.nu.ac.th/fileplan_qa/costperhead.pdf

ที่ ม.น. เป็นหลักสูตร 6 ปี ถ้าเรายึดตัวเลขนี้เป็นฐานในการคำนวณ ซึ่งแน่นอนว่าจริงๆแล้วตัวเลขจะไม่เท่ากันในทุกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเก่าจะยิ่งมีตัวเลขสูง เนื่องจากมีบุคลากรอาวุโสมาก (เงินเดือนสูง) และยังอาจจะมีจำนวนบุคลากรที่มากกว่าด้วย ดังนั้น แนวโน้มส่วนใหญ่น่าจะมีตัวเลขสูงกว่านี้ เพราะ ม.น.เป็นมหาวิทยาลัยที่อายุยังน้อย (เอ๊าะๆ)

ไม่มีการศึกษาที่แสดงตัวเลขค่าใช้จ่ายต่อหัวจากคณะเภสัชฯในมหาวิทยาลัยอื่น แต่ถ้าจะประมาณขั้นต่ำแล้วเฉลี่ย ก็จะขอลองเฉลี่ยตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 160,000 ต่อคนต่อปี สำหรับคณะเภสัชฯสังกัดรัฐทั่วประเทศ

ทีนี้มาดูว่า การเรียนเพิ่มอีก 1 ปี ค่าใช้จ่ายตรงนี้จะเพิ่มเป็นเท่าไรต่อปี ถ้าประมาณว่ามีนักศึกษาเภสัชฯทั่วประเทศต่อปี (เฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐ) 1,500 คนต่อปี เอาตัวเลขสองตัวนี้คูณกันนะ จะได้ 240 ล้านบาทต่อปี

จากรายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการจัดระบบงบประมาณและการลงทุนเพื่ออุดมศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ปี 2546 ได้ระบุไว้ว่า ในปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลอุดหนุนอุดมศึกษาถึงร้อยละ 75 ของต้นทุนผลิต นั่นหมายถึงว่านักศึกษาจ่ายเองเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น

ถ้าเอาตัวเลข 240 ล้านมาคิด และใช้สัดส่วนการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐในปีงบประมาณ 2545 มาคิดด้วย จะพบว่า ใน 1 ปีที่จัดการศึกษาเพิ่มขั้นนั้น นักศึกษาต้องจ่ายเงินเพิ่ม 60 ล้านบาทต่อปี ตรงนี้แน่นอนเป็นภาระของครอบครัว ซึ่งยังไม่ได้คิดเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องใช้ในการเรียน ส่วนที่เหลืออีก 180 ล้านบาทเป็นส่วนที่รัฐจ่ายผ่านงบประมาณมาให้มหาวิทยาลัย

ถ้าเอาตัวเลขที่ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อเดือนของนักศึกษา 1 คนเท่ากับ 5,000 บาท ดังนั้น ต่อปีแล้วจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเท่ากับ 60,000 บาทต่อนักศึกษา 1 คน ค่าเสียโอกาสจากการออกไปทำงานที่ประมาณการรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อหัวเท่ากับ 15,000 บาท เท่ากับ 180,000 ปีต่อคน จากจำนวนนักศึกษาประมาณ 1,500 คนต่อปี

รวมตัวเลขแล้วจะได้ดังนี้
ค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับนักศึกษาเภสัชทั่วประเทศต่อปี คือ 240 ล้านบาท
ค่าใช้จ่าต่อเดือนสำหรับนักศึกษาเภสัชทั่วประเทศใน 1 ปี คือ 60,000 * 1,500 คน = 90 ล้านบาท
ค่าเสียโอกาสในการได้รับกรายได้จากการทำงานของนักศึกษาเภสัชทั่วประเทศต่อปี คือ 180,000 *1,500 คน = 270 ล้านบาท

รวม 3 รายการนี้มีมูลค่า 600 ล้านบาทต่อปี
เอ้อ...เลขสวย
อันนี้ปีเดียวเท่านั้นนะ

แค่นี้ก่อนนะ มีเวลาจะมาต่อ




คงต้องกลับมาเร็วๆละมั้งครับ :wink:


สำหรับข้อความที่ยกมา  :roll: นี้นะครับ
ผมว่า..."ถ้าไม่เห็นด้วย, อย่ายกเหตุผลโดยเน้นตัวเลขทางการเงิน"
เพราะ เราไม่สามารถบอกได้เลยว่ามันสูญเสีย, มันเปลือง, หรือมันไม่คุ้ม
ตำราการลงทุนทั้งหมดในโลกนี้บอกว่า "การลงทุนกับการศึกษา เป็นสิ่งที่ดีที่สุด"


ส่วนเหตุผลและความเห็นอื่นๆที่ผ่านมา..ผมไม่มีความเห็นร่วม หรือ ไม่ร่วมด้วย แต่อย่างใด
เพราะผมไม่รู้รายละเอียดของโครงการนี้
ครับ

:D :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: เรื่องสภากำหนดให้ต่อไปมีแต่หลักสูตร 6 ปี

โพสต์โดย wannee » 12 ก.พ. 2008, 09:39

kohboy เขียน:[


สำหรับข้อความที่ยกมา  :roll: นี้นะครับ
ผมว่า..."ถ้าไม่เห็นด้วย, อย่ายกเหตุผลโดยเน้นตัวเลขทางการเงิน"
เพราะ เราไม่สามารถบอกได้เลยว่ามันสูญเสีย, มันเปลือง, หรือมันไม่คุ้ม
ตำราการลงทุนทั้งหมดในโลกนี้บอกว่า "การลงทุนกับการศึกษา เป็นสิ่งที่ดีที่สุด"


ส่วนเหตุผลและความเห็นอื่นๆที่ผ่านมา..ผมไม่มีความเห็นร่วม หรือ ไม่ร่วมด้วย แต่อย่างใด
เพราะผมไม่รู้รายละเอียดของโครงการนี้
ครับ

:D :D

[/quote]

ชะแว้บเล็กน้อย......:-)

เหตุผลในการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติ คงใช้เพียงเหตุผลเดียวไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงินหรือไม่ก็ตาม

การพิจารณาอย่างรอบด้านเป็นสิ่งจำเป็น
การให้น้ำหนักแต่ละด้านก็ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็น

ถ้าสนใจที่มาที่ไป อ่านกระทู้นี้ตั้งแต่ต้นได้ค่ะ
ขอบคุณมากค่ะที่แนะนำ
อีก 20 ปีข้างหน้า คุณอาจจะเสียใจในสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สายตรงถึงสภาเภสัชกรรม

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document